วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (COLORECTAL CANCER)

อาการ

อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นกับตำแหน่งของก้อนเนื้องอกที่เป็น โดยลำไส้ใหญ่จะอยู่ทางด้านซ้าย ขวา และส่วนบนของท้อง รวมถึงส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานเพื่อเปิดออกที่ทวารหนัก นอกจากอาการตามตำแหน่งที่เป็นแล้ว อาการยังขึ้นกับระยะของโรค โดยเฉพาะถ้ามีการแพร่กระจายแล้ว อาการแสดงสามารถมาจากอวัยวะที่กระจายไป เช่น ถ้าไปปอดก็จะมีอาการไอ ตั้งแต่ไอแห้งๆ จนถึงไอเป็นเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการทั่วๆไปของคนป่วยเป็นมะเร็งเช่นเดียวกับมะเร็งของอวัยวะอื่น เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ เป็นต้น

อาการเฉพาะที่

จะเด่นชัดเมื่อก้อนเนื้องอกอยู่ใกล้รูเปิดทวารหนักได้แก่อาการปวดเบ่งหรือรู้สึกถ่ายไม่สุด อาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสียโดยไม่มีสาเหตุ จนถึงก้อนอุจจาระเล็กลงหรือมีเลือดปน ตั้งแต่เลือดสดๆ เลือดเก่าๆสีคล้ำๆ จนถึงสีดำเหมือนน้ำมันดิน แสดงว่าก้อนเนื้องอกอยู่ต้นๆของลำไส้ใหญ่ ที่ห่างไกลจากรูทวารหนักมาก ส่วนมากจะมีมูกเพิ่มขึ้นด้วย










เมื่อเนื้องอกโตเพิ่มขึ้น อาจใหญ่จนทำให้ทางเดินลำไส้แคบลงหรือตีบไป ทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันได้ ผู้ป่วยดังกล่าวจะมาพบแพทย์ด้วยท้องใหญ่ขึ้น ผายลมหรือถ่ายน้อยลงจนถึงไม่ถ่าย หรือท้องผูก หากการอุดตันทำให้ลมไม่สามารถผ่านออกมาได้ ทำให้อาเจียน บางครั้ง การอุดตันทำให้ลำไส้ส่วนก่อนถึงจุดอุดตันมีการขยายตัวโป่งออกและแตกทะลุ ทำให้อุจจาระและเชื้อโรคกระจายอยู่ในช่องท้อง ทำให้ช่องท้องอักเสบ (peritonitis) ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้

เมื่อก้อนเนื้องอกใหญ่ขึ้น ทำให้แพทย์สามารถคลำพบเป็นก้อนในการตรวจร่างกายบริเวณท้องได้ นอกจากนี้หากมะเร็งลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียง เข่น ไตหรือท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดได้

อาการทั่วๆไป

หากก้อนเนื้องอกลำไส้มีเลือดออกทีละน้อย โดยไม่รู้สึก นานไปทำให้เป็นโรคโลหิตจางขนิดขาดธาตุเหล็กได้ ภาวะโลหิตจางหรือซีดทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น และซีดขาว โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้มีน้ำหนักลดจากตัวมะเร็งเองร่วมกับอาการเบื่ออาหาร ทานได้น้อยลง

ในบางรายอาจมีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ภาวะเลือดแข็งตัวง่าย อุดตันในเส้นเลือดต่างๆ ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะหรือแขนขาได้

การแพร่การะจาย(ระยะที่สี่)

มะเร็งลำไส้ใหญ่มักกระจายไปที่ตับ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบหรือไม่รู้สึก นอกจากมะเร็งที่กระจายมีจำนวนมากขึ้นหรือเจริญเติบโตใหญ่ขึ้นทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองหรือปวดท้องเนื่องจากเนื้อมะเร็งใหญ่ขึ้นดันถุงที่หุ้มตับทำให้รู้สึกปวด ถ้าก้อนเนื้อที่กระจายไปตับแล้วอุดกั้นทางเดินน้ำดี ผู้ป่วยจึงจะมีอาการเหลืองให้เห็นร่วมกับอาการอื่นของการอุดตันน้ำดี เช่น อุจจาระสีซีด(ขาดน้ำดีปน) เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

การเกิดติ่งเนื้อ(polyp or adenoma) ของลำไส้โดยเฉพาะชนิด tubular เป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เชื่อว่ามีปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดดังนี้

อายุ

พบมากขึ้นตามอายุ ดังนั้นส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงวัย โดยเฉพาะหลัง 60-70 ปี พบได้น้อยในอายุก่อน 50 ปี นอกจากมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุน้อย ดังที่กล่าวมาข้างต้น ติ่งเนื้อโดยเฉพาะ adenomatous polyps เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ การตัดติ่งเนื้อลำไส้ในระยะแรกๆ สามารถลดอุบัติการเกิดโรคได้




ประวัติมะเร็งในอดีต

ผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยหรือรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในอดีต จะเสี่ยงต่อการเกิดเป็นซ้ำอีกในอนาคต หญิงที่มีประวัติมะเร็งรังไข่ มดลูก หรือมะเร็งเต้านม เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ๋

กรรมพันธ์
ประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 55 ปี หรือ ญาติหลายคนเป็น
Familial adenomatous polyposis (FAP) ติ่งเนื้อชนิดนี้ พบในครอบครัวใด ญาติสายตรงในครอบครัว มีโอกาสเป็น 100 %
Hereditary nonpolyposis colorectal cancer (HNPCC) or Lynch syndrome ก็เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์

การสูบบุหรี่

จากการสำรวจของสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกา พบว่าผ้สูบบุหรี่จะเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ๋มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบ โดยเฉพาะในสตรีที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ๋เพิ่มขึ้น 40% ส่วนในชายจะเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่

อาหาร

โดยเฉพาะผู้ที่ชอบทานเนื้อแดงและไม่ชอบทานผัก ผลไม้สด เป็ดไก่และเนื้อปลา ในยุโรป(the European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition) ราวเดือนมิถุนายม 2005 ได้ทำการสำรวจ ผลก็ออกมาทำนองเดียวกัน และยังพบว่าผู้ที่รับประทานปลาเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ผู้นั่งโต๊ะทำงาน(ไม่ชอบออกกำลังกาย)

ผู้ที่ออกกำลังกายประจำจะมีความเสี่ยงลดลง

ไวรัสบางชนิด

โดยเฉพาะ human papilloma virus ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ก็เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นได้

โรคการอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ท่อน้ำดีอักเสบ ก็พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ส่วนลำไส้อักเสบเรื้อรัง ulcerative colitis พบมีอุบัติการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ 1%

ระดับเซสีเนียมในเลือดต่ำ

ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

คนที่อยู่ในประเทศอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนในประเทศที่กำลังพัฒนา อาจเป็นเพราะคนในประเทศที่กำลังพัฒนาทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากกว่า และ/หรือ อาหารที่มีไขมันต่ำกว่า แต่เมื่อคนจากประเทศกำลังพัฒนาย้ายไปอยู่ในประเทศที่พัฒนาและทานอาหารเช่นเดียวกับคนในประเทศนั้นๆ ก็มีอุบัติการเกิดของมะเร็งลำไส้ใหญ๋ใกล้เคียงกัน(สูงขึ้น) อันเป็นการยืนยันว่าอาหารเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค

การรับประทานฮอร์โมน

โดยเฉพาะอีสโตรเจนเสริมในหญิงที่หมดประจำเดือน

แอลกอฮอร์

โดยเฉพาะผู้ดื่มจัด(45 กรัมต่อวัน)ที่เป็นเพศชาย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 70 % และแอลกอฮอร์เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เร็วขึ้น

การตรวจคัดกรอง

สามารถลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 29% ใน 20 ปี เนื่องจากอุบัติการของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่สูง ดังนั้นการคัดกรองจึงได้ประโยชน์ในกลุ่มเสี่ยงสูง โดยมีวิธีการคัดกรองดังต่อไปนี้

การตรวจทางทวารหนักโดยการล้วงด้วยนิ้วมือ Digital rectal exam (DRE):

โดยแพทย์จะสวมถุงมือยางและทาวาสลินเพื่อหล่อลื่นไว้ที่ปลายนิ้วก่อนสอดนิ้วเข้าไปในทวารหนัก การตรวจด้วยวิธีนี้จะได้ผลเฉพาะก้อนเนื้อที่มีขนาดใหญ๋พอและอยู่ส่วนปลายใกล้ทวารหนัก-บริเวณของไส้ตรง (rectum) เท่านั้น ถือเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น


การตรวจร่องรอยของเลือดในอุจจาระ Fecal occult blood test (FOBT):

เป็นการนำอุจจาระมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความไวและความจำเพาะต่ำ แต่ทำได้ง่าย

การตรวจด้วยกล้องส่องลำไส้ใหญ่

ขึ้นกับชนิดของกล้องที่ใช้ กล้องสั้นใช้ตรวจเฉพาะทวารหนักถึงลำไส้ใหญ่ข้างซ้าย เรียก sigmoidoscope ส่วนกล้องยาวตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมดเรียก colonoscopy การตรวจด้วยกล้องดีกว่าวิธีอื่น เพราะเมื่อตรวจพบติ่งเนื้อ (polyp) สามารถตัดออกมาส่งตรวจได้ หรือ ในกรณีที่ไม่สามารถตัดได้หมดก็จะคีบบางส่วนของชิ้นเนื้อ (biopsy) ที่สงสัยมาตรวจทางพยาธิได้

ในอเมริกา นิยมตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องชนิดยาว (colonoscopy) หรือ การสองตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องชนิดสั้น (sigmoidoscopy) ร่วมกับการตรวจอุจจาระหาร่องรอยของเม็ดเลือดแดง(FOBT) ในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุน้อยหรือชนิดถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ ควรคัดกรองล่วงหน้า 10 ปีจากอายุของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง ในคนที่มีความเสี่ยงมาก ควรทำการตรวจทุก 2-3ปี เพื่อตรวจหามะเร็งระยะแรก แต่ถ้าเป็นแล้วรักษาหรือผ่าตัดแล้ว ให้ทำการติดตามโดยการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องชนิดยาว (colonoscopy) ทุกปี สำหรับในกลุ่มเสี่ยงทั่วไป เช่น อายุมากกว่า 50 ปีซึ่งไม่มีประวัติมะเร็งลำไส้ในครอบครัว ให้ทำการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องดังกล่าวข้างต้นทุก 5 ปี




เอกสารอ้างอิง

www.wikipedia.org

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD)

เป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในประเทศไทยในระยะสิบปีหลังนี้ อุบัติการในประเทศไทยสำรวจโดย รศ.นพ.อุดม คชินทร ศิริราชและคณะสำรวจในปี ค.ศ. 1996 พบ 4.9% ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 สำรวจประชากรไทยทั่วประเทศ 3120 รายโดยชมรมโมทิลิตี้คลับ พบอุบัติการณ์ 7.4 % เช่นเดียวกับอุบัติการของประเทศอื่นๆก็เพิ่มขึ้น อาจเนื่องจากการใช้ชีวิตที่เป็นตะวันตกมากขึ้น ภาวะนี้เกิดจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนผ่านหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างทำให้เกิดการระคายเคืองของหลอดอาหารเรียก Erosive Esophagitis และไม่มีการอักเสบ-Nonerosive Esophagitis ก็ได้ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ 60-70%ไม่มีการระคายเคืองของหลอดอาหารแต่มีอาการที่เกิดจากการระคายเคืองได้แก่ แสบร้อนหน้าอกหรือเรอเปรี้ยว มักพบในคนอ้วน คนที่ทานอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป หรือ ทานแล้วนอนทันทีหรือนอนหัวต่ำ(เคยหนุนหมอน เผลอหลับไปโดยไม่ได้หนุน) หากภาวะกรดไหลย้อนเป็นซ้ำๆ หลายๆปีโดยไม่ได้รักษา ภาวะอักเสบเรื้อรังอาจกลายเป็นระยะแรกของมะเร็งหลอดอาหารส่วนล่างได้ (Barrett’s esophagus) ในคนที่มีภาวะกรดไหลย้อนที่ไม่ได้รักษามากกว่า 20 ปีมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าปกติ 16 เท่า

อาการของกรดไหลย้อนที่พบบ่อยได้แก่
1. แสบร้อนหน้าอก (Heartburn)



2.เรอบ่อยหรือเรอเปรี้ยวหรือมีเศษอาหารขึ้นมา (Regurgitation)
3.มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนหรือกลืนไม่สะดวก (Trouble swallowing or dysphagia)




อาการที่พบได้น้อยกว่า
เจ็บเวลากลืน (odynophagia)
น้ำลายมากผิกปกติ โดยเฉพาะช่วงที่มีอาการแสบร้อนหน้าอก เพราะน้ำลายเป็นด่าง ช่วยลดอาการของกรดไหลย้อนได้
คลื่นไส้
เจ็บหน้าอก บางครั้งทำให้เข้าใจผิดเป็นโรคหัวใจได้

ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของกรดไหลย้อนที่เกิดขึ้นที่หลอดอาหาร(Typical GERD) ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่อาการแสดงเกิดขึ้นนอกหลอดอาหาร (Extraesophageal or Atypical reflux disease) เช่น เจ็บคอ ไอเรื้อรัง หรือ หอบหืดที่รักษาไม่ค่อยหาย

การรักษา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานมักต้องทำร่วมกับการรักษาทางยาจึงจะได้ผล

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

สิ่งที่ทำให้ภาวะกรดไหลย้อนเป็นมากขึ้นหรือไม่หายขาดได้แก่

อาหารรสเปรี้ยว มะเขือเทศ ช็อคโกเล็ต เปปเปอร์มิ้นต์ กระหล่ำปลี

น้ำอัดลม กาแฟ แอลกอฮอร์ หรือแม้แต่วิตามินซีโดยเฉพาะหากรับประทานก่อนเข้านอน

อาหารที่มีไขมันสูง

ทานอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป

การทานนมก่อนนอนก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะในนมมีไขมันมากและแคลเซี่ยม ซึ่งกระตุ้นให้กรดออกมามากขึ้น

การสูบบุหรี่



การปฏิบัติที่ทำให้ภาวะกรดไหลย้อนดีขึ้น ได้แก่ การลดน้ำหนักและการนอนศีรษะสูงขึ้น รวมถึงการนอนตะแคงซ้าย สามารถลดอาการที่เป็นบ่อยให้ลดลง

การรักษาด้วยยา
กลุ่มยาที่ได้ผลดีที่สุดได้แก่ Proton pump inhibitors เช่น omeprazole, pantoprazole, lansoprazole, หรือ rabeprazole
กลุ่มยาที่ได้ผลเพียง 50% ได้แก่ Gastric H2 receptor blockers เช่น ranitidine, famotidine and cimetidine ใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
ยาลดกรด รับประทานก่อนอาหารและเมื่อมีอาหาร เป็นการรักษาตามอาการ ใช้เสริมกับยาดังกล่าวข้างต้นได้
ยาเคลือบผนังหลอดอาหาร (Alginic acid หรือชื่อการค้า Gaviscon) ได้ผลดีกว่า H2 receptor blockers

การรักษาด้วยยา มีวิธีการให้สองวิธีคือ ยาฤทธิ์อ่อนไปแรง "step-up" หรือ ยาแรงตั้งแต่แรกเมื่ออาการดีขึ้นค่อยๆลดยาลงเพียงพอที่จะคุมอาการได้ เรียก "step-down" แล้วคงยาไว้ระยะหนึ่งค่อยหยุดยา หากหยุดยาแล้วอาการกลับเป็นอีก อาจต้องทานติดต่อไปเป็นเดือนหรือเป็นปี

การรักษาด้วยการผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดเย็บเพิ่มความแข็งแรงของหูรูดหลอดอาหาร จะกระทำเมื่อผู้ป่วยอายุน้อย ไม่ต้องการรับประทานยานานๆ หรือ ผ่าตัดเมื่อหลอดอาหารกลายเป็นมะเร็งแล้ว



เอกสารอ้างอิง

www.wikipedia.org

พิพิธภัณฑ์ ทาง ธรณีวิทยา ของ จีน กรุงปักกิ่ง


ที่ อยู่: Beijing, Xisi, Yangrou Hutong, # 15
Telephone: 86-10-66176387 Telephone: 86-10-66176387
Fax: 86-10-66168870 Fax: 86-10-66168870
Official Website: http://www.gmc.org.cn/ อย่าง เป็น ทางการ Website: http://www.gmc.org




พิพิธภัณฑ์ ธรณีวิทยา ของ จีน ตั้ง อยู่ ใน กรุง ปักกิ่ง ใน สถาน ที่ ที่ เรียก ว่า สี่ แยก Western. It is an internationally renowned geological museum with the largest, rarest, and most valued collections in China. เป็น พิพิธภัณฑ์ ทาง ธรณีวิทยา ที่ มี ชื่อเสียง ระดับ นานาชาติ ที่ ใหญ่ ที่สุด rarest และ มูลค่า มาก ที่สุด ใน ประเทศ จีน เรียก เก็บ. Its buildings cover some 11,000 square meters and contain around 200,000 items. อาคาร มัน ครอบคลุม บาง 11,000 ตาราง เมตร และ มี ประมาณ 200,000 รายการ.

Begun in 1916, the museum is one of the oldest in China. เริ่ม ที่ 1,916, พิพิธภัณฑ์ เป็น หนึ่ง ใน ที่ เก่า แก่ ที่สุด ใน จีน. In 2004, the rebuilt museum opened to the public, with an exhibition area of 4,500 square meters. It now has an earth sciences hall, an ore hall, a paleobotanical hall, a gems hall, and a land and resources hall. ใน ปี 2004 พิพิธภัณฑ์ สร้าง ใหม่ เปิด ให้ ประชาชน มี พื้นที่ จัด แสดง ของ 4,500 ตาราง เมตร. ซึ่ง ขณะ นี้ มี แผ่นดิน ศาลา วิทยาศาสตร์ แร่ ศาลา, ศาลา paleobotanical, ศาลา อัญมณี และ ที่ดิน และ อาคาร ผู้โดยสาร ทรัพยากร.

The Museum's collections are extremely rich and contain many superlative Shantungosaurus giganteus fossils, rare fossilized primitive birds, the world's largest quartz crystal (3.5 tons), the largest mono-crystal, and so on. กลุ่ม พิพิธภัณฑ์ เป็น อย่าง มาก และ มี หลาย อัน สูงสุด Shantungosaurus ซากดึกดำบรรพ์ giganteus, หา ยาก นก ดึกดำบรรพ์ โบ รา ฌ, โป่งข่าม ใหญ่ ที่สุด ใน โลก (3.5 ตัน) ที่ ใหญ่ ที่สุด เดียว-ใส เป็นต้น. The earliest hominid fossil to be found to date in China is exhibited here, known as the Yuanmou-Man tooth fossil from Yunnan Province. ฟอสซิล hominid ก่อน จะ พบ ว่า วัน ใน ประเทศ จีน จะ แสดง ที่ นี่ เรียก ว่า Yuanmou-ฟอสซิล ฟัน มนุษย์ จาก จังหวัด ยู น นาน. Artefacts from Zhoukoudian, the early-hominid site outside Bei-jing, are also on display here. Artefacts จาก Zhoukoudian, ต้น ไซต์ hominid นอก Bei-jing, นอกจาก นี้ ยัง มี การ แสดง ที่ นี่.

King Crystal หินคว็อตที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ปักกิ่ง

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จะออกจาก"มิคสัญญี"อย่างไร โดย ประเวศ วะสี

บังเอิญไปพบบทความของอาจารย์ราษฏรอาวุโส ซึ่งท่านเขียนไว้นานแล้ว แต่ผมเห็นว่ายังใช้ได้กับสถานะการณ์ปัจจุบันได้ จึงนำมาลงไว้ให้อ่าน

ที่มา มติชนรายวัน 14 มิ.ย. 2550 หน้า 15 เซคชั่นกระแสทรรศน์


ทำไมการเมืองไม่สามารถนำสิ่งดีงามสู่บ้านเมือง ตรงกันข้ามมีความขัดแย้งรุนแรงและนำไปสู่การนองเลือดหลายครั้งหลายหน รวมทั้งความแตกแยกในปัจจุบัน ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุนแรงนองเลือดถึงขั้น "มิคสัญญี กลียุค"

คนไทยควรพิจารณาอย่างจริงจังว่าเราจะออกจากมิคสัญญีกลียุคได้อย่างไร

ถ้าระบอบประชาธิปไตยไม่ลงตัวทุกฝ่ายลำบากหมด ใครมาเป็นรัฐบาลก็ลำบาก ตราบใดที่ระบอบประชาธิปไตยไม่ลงตัว พระมหากษัตริย์ก็ลำบาก ประชาชนก็ลำบากสุดสุด นอกจากแก้ความยากจนและความไม่เป็นธรรมทางสังคมไม่ได้ ยังถูกลากเข้าไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินลงอย่างน่าอนาถ

กรณีทักษิณนำความขัดแย้งไปสู่มิติใหม่ ที่มีทุนขนาดใหญ่เข้ามาขัดแย้งกับระบอบอมาตยาธิปไตย ทุนขนาดใหญ่มีฤทธิ์ มีอำนาจในการต่อสู้มาก ความขัดแย้งจึงมีขนาดและขอบเขตใหญ่และรุนแรงได้มาก ไม่สามารถนำไปสู่การลงตัวได้ การยึดมั่นทางใดทางหนึ่งก็ไม่เป็นทางที่เราจะออกจากมิคสัญญีกลียุคได้ และจะพากันพ่ายแพ้ด้วยกันทั้งหมด

ทางออกของปัญหาดังกล่าวคือ ระบอบประชาธิปไตยจะก้าวหน้าไปได้ต้องมีกรอบ กติกา กลไกที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นผู้กำกับ มีรากฐานอยู่ในประชาธิปไตย จะแตกต่างกัน จะถกเถียงกัน จะชุมนุม จะเดินขบวน เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ควรอยู่ในกรอบและกติกาอันหนึ่ง นั่นคือ กรอบของสันติวิธี และกติกาว่าจะใช้หลักฐานข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผล

ค้านได้ ไม่เห็นด้วยได้ แต่ต้องแสดงเหตุผล การด่า การประณาม การพูดเสียดสีที่เรียกว่าผรุสวาจา ไม่ทำให้คนฉลาดขึ้น นำไปสู่ความแตกแยกและความรุนแรง ดังนั้น ทุกฝ่ายควรจะเข้ามาสร้างกรอบและกติกาพื้นฐานร่วมกันเสียก่อนว่าจะใช้สันติวิธีและสัมมาวาจา เพื่อเปิดโอกาสให้สิ่งดีๆ เกิดตามมาได้

ถ้าจัดให้มีเวทีประชาธิปไตยที่ผู้คนทุกฝ่ายสามารถถกเถียงกันได้ด้วยเหตุผล และมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ไปทั่วประเทศให้ประชาชนรับดูรับฟังและมีส่วนร่วม ประชาชนทั้งประเทศจะเป็นผู้กำกับว่าต้องทำตามกรอบและกติกา อยู่ในร่องในรอย ใช้ข้อมูลหลักฐานและเหตุผลมากขึ้นเรื่อยๆ มีคณะกรรมการเวทีประชาธิปไตยเป็นผู้รักษากรอบและกติกา

ผู้เริ่มต้น ได้แก่ สถาบันพระปกเกล้า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ ปรึกษาหารือกันว่าจะเชิญทุกฝ่ายมาร่วมสร้างกรอบ กติกา และกลไก เบื้องต้นร่วมกันอย่างไร เชิญบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นคณะกรรมการประชาธิปไตย รัฐบาลควรถือเป็นโอกาสที่จะสนับสนุนเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้งบประมาณไม่มาก แต่จะพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยอย่างรวดเร็ว และยกระดับสติปัญญาของคนทั้งประเทศขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเวลาอันสั้น ทำให้ประชาชนเข้ามากำหนดและกำกับกรอบ กติกา และกลไกประชาธิปไตยได้

ถ้าเรารวมตัวกันทำสิ่งใหม่ที่ดี ไม่เป็นการยากเลยที่ภายใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะแข็งแรง สันติ และร่มเย็นเป็นสุข เราควรมองไปข้างหน้าและเห็นอนาคตที่ดีร่วมกัน มากกว่าไปขมขื่นอยู่กับอดีต

โบราณว่าวิกฤตเป็นโอกาส เพื่อนคนไทยครับ โอกาสอยู่ต่อหน้าท่านแล้ว ที่เราจะไปสู่จุดลงตัวใหม่ที่ดีร่วมกัน

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นอนหลับและนอนไม่หลับ – ทฤษฏีแพทย์แผนจีน

ในทฤษฎีแพทย์จีน หยางทำให้ตื่น อินทำให้หลับ การนอนไม่หลับเป็นผลจากการที่หยางไม่สามารถรวมตัวกับอิน(หยิน) ในขณะที่อาการอ่อนเพลียอยากนอนเป็นผลจากการที่หยางไม่สามารถแยกตัวจากอิน


นอนไม่หลับ

1 นอนหลับยาก ร่วมกับอาการหงุดหงิดรำคาญ ร้อนที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เหงื่อออกตอนนอน ฝันมาก ปวดเอวเข่าอ่อน พบในภาวะที่หัวใจและไตไม่ประสานกัน

2 ตื่นง่าย ร่วมกับใจสั่น หลงลืม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย สีหน้าซีด ชีพจรอ่อนแรง พบในภาวะหัวใจและม้ามพร่อง หรือเลือดพร่อง

3 นอนไม่หลับ และอืดแน่นอึดอัดใต้ลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว ฝ้าลิ้นหนาเหมือนเต้าหู้ พบในภาวะอาหารตกค้างในกระเพาะอาหาร

4 นอนไม่หลับ และเหนื่อยหอบ ใจสั่น บวม พบในภาวะหยางหัวใจและไตพร่อง

5 นอนหลับๆ ตื่นๆ เวียนศีระษะ ตกใจง่าย คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม พบในภาวะชี่ถุงน้ำดีติดขัด มีเสมหะรบกวนเสินของหัวใจ



ง่วงนอนผิดปกติ

1 ง่วงนอน รู้สึกหนักเปลือกตาไม่อยากลืม แน่นอึดอัดทรวงอก เมื่อยหนักตามลำตัว เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ฝ้าลิ้นเหนียว ชีพจรอ่อน พบในภาวะเสมหะความชื้นสะสมกระทบหยางม้าม

2 ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หายใจสั้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซูบผอม ชีพจรอ่อนแรง พบในภาวะชี่ม้ามพร่อง

3 ง่วงนอน อ่อนเพลียและมีไข้ เพ้อหรือซึม กำเริบมากเวลากลางคืน ลิ้นแดงจัด ชีพจรเร็ว พบในภาวะไฟรุกรานเยื่อหุ้มหัวใจ

4 อ่อนเพลียมาก อยากนอนไม่ทนหนาว มือเท้าเย็น พบในภาวะหยางหัวใจและไตพร่อง

ปรับสมดุลบรรเทาอาหารปวดขา

คัดลอกมาจากหนังสือเส้นสายสร้างดุลยภาพ โดยล้อเกวียน สำนักพิมพ์บริษัทฟ้าอภัยจำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (เล่มละ ๒๐ บาท ถูกมากๆ)

อาการปวดขานั้นมีหลายแบบ เช่น ปวดขาด้านใน ปวดขาด้านนอก ปวดหน้าขา ปวดหลังขา อาการปวดต่างๆกัน หมายถึงการบอกถึงความอ่อนแอของอวัยวะต่างๆในร่างกายด้วย เพราะแต่ละตำแหน่งนั้นมีเส้นแนวเมอริเดียนของอวัยวะต่างๆผ่าน เช่น

ถ้าปวดขาด้านใน หมายถึง ปัญหาเกิดขึ้นที่ ตับ ม้าม ไต

ถ้าปวดขาด้านนอก หมายถึง ปัญหาเกิดขึ้นที่ ถุงน้ำดี

ถ้าปวดขาด้านหน้า หมายถึง ปัญหาเกิดขึ้นที่ กระเพาะอาหาร

ถ้าปวดขาด้านหลัง หมายถึง ปัญหาเกิดขึ้นที่ กระเพาะปัสสาวะ ไต

ปวดขาด้านใน

คือ สัญญาณบอกถึงการเกิดปัญหากับ ตับ ม้าม ไต อาจมีปัญหาที่แต่ละอวัยวะ หรือ มีปัญหารวมทั้ง ๓ อวัยวะเลยก็ได้ เราต้องหาต้นเหตุก่อนว่ามีอาการปวดที่เส้นใด หรือมีอาหารปวดทั้ง ๓ เส้นสลับกัน ดูตามอาหาร มากหรือน้อย เช่น

- ปวดขาด้านในตามเส้นของตับ หมายถึงพลังของตับ การทำงานของตับติดขัด สำรองเลือดไม่ทัน หรือร่างกายจ่ายพลังงานมากเกินไป เมื่อเสียสมดุล เริ่มแรกจะแสดงอาการตึงที่เส้นตับ แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นปวด ถ้ายังเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องอีก และหากเรายังไม่หยุด....

ตามเหตุอันเกิดปัญหาจากตับ คือ....

- นอนดึกเกิน ตี ๑

- ขี้โมโหบ่อยๆ

- ขับรถทางไกลนานๆ อดหลับ อดนอนด้วย

- กินอาหารที่มีพิษ เช่น ถั่วลิสงป่นหรือพริกป่นที่ทิ้งไว้นานๆจนมีเชื้อรา ผักพืชผลไม้ เคลือบสารพิษ เช่น ฟอร์เมอร์รีน

- ได้รับอุบัติเหตุหลายครั้ง

- ดื่มเหล้าบ่อยๆ

วิธีปรับสมดุล

๑. ควรหยุดพฤติกรรมดังกล่าวมาแล้ว หรือค่อยๆ ลด ละ เลิกให้ได้ ร่างกายก็จะเข้าสู่สภาวะสมดุลเอง

๒. โดยการกดจุดตับ(liv ๑๒, ๑๑, ๙, ๘, ๗, ๖, ๕)

...............

แต่ถ้ามีอาการปวดที่เส้นของตับ พร้อมกับีตุ่มใสๆ เหมือนกับงูสวัด นั่นคือร่างกายส่งสัญญาณว่า ตับกำลังขับสารพิษออกจากร่างกาย ถ้าตุ่มใสมีจำนวนมาก แสดงว่า สารเคมีที่มากับอาหารก็มีจำนวนมาก ตับและม้าม จะต้องทำหน้าที่ขับสารพิษออกจากระบบเลือด

อ่านต่อเอาเองนะครับ

ปวดสะโพก – ปวดบริเวณสลักเพชร

คัดลอกมาจากหนังสือเส้นสายสร้างดุลยภาพ โดยล้อเกวียน สำนักพิมพ์บริษัทฟ้าอภัยจำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ตำแหน่งของจุดที่อยู่ตรง “สลักเพชร” คือเวลานอนตะแคงแล้วจะเห็นจุดที่นูนที่สุด ซึ่งเป็นบริเวณข้อต่อขากับลำตัว มันคือจุดของถุงน้ำดี(GB30) เมื่อเกิดอาการปวดบริเวณนี้ ร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนเราว่า ร่างกายกำลังเสียสมดุลที่อวัยวะถุงน้ำดี ถ้าเสียสมดุลมาต่อเนื่อง ความปวดก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บอกถึงการเสียสมดุลต่างๆ ดังนี้

๑. นอนดึกเกิน ๓ ทุ่ม บ่อยๆ

๒. คร่ำเครียดกับงานประจำ หรืองานต่างๆ ทั้งใช้ความคิด หรือใช้กำลังกาย

๓. ลืมหายใจลึกๆยาวๆ หายใจสั้นๆจนเคยชิน

๔. นอนไม่ค่อยหลับ ชอบตื่นกลางดึก

๕. นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

๖. กินอาหารที่มีคลอโรฟิลน้อยไป แต่กินอาหารหวาน อาหารทอดมากเกินไป

๗. นอนในห้องที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเสมอๆ

บางครั้งไม่ปวดจุดนี้จัดเดียว แต่จะปวดไปตามเส้นถุงน้ำดีต่างๆที่พาดผ่าน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเสียสมดุลมากน้อยเพียงใด บางครั้งปวดจากจุดสลักเพชร แล้วลามไปถึงกระดูกขาท่อนบน มีอาการเหมือนปวดร้าวเมื่อยๆ หมายถึงร่างกายสูญเสียความสมดุลของเลือดไปจำนวนมาก อาจเกิดจากการนอนดึก หรือมีงานเครียดตลอดเวลา จนกระทั่งเม็ดเลือดแดงแตกเป็นจำนวนมาก บริเวณกระดูกขาท่อนบนนี้เป็นกระดูกท่อนที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ซึ่งมีโพรงกระดูกจำนวนมากสำหรับผลิตเม็ดเลือดสร้างไขกระดูก เพื่อชดเชยส่วนที่ขาด เมื่อชดเชยไม่ทัน จำทำให้ร่างกายเกิดอาการเช่นนั้น

ที่ตำแหน่งนี้(GB30) ยังมีเส้นกระเพาะปัสสาวะ(UB30,32,33,34) (ดูตามรูป) พาดผ่านอยู่ข้างๆแนวกระดูกก้นกบ จึงมีปัญหาตามกันมาด้วยการที่มีอาหารปวดที่เส้นนี้ บอกถึงกระเพาะปัสสาวะมีกรดที่ถุงระบายเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังระบายไม่หมด จึงปรากฎอาการปวดตามเส้นกระเพาะปัสสาวะคู่กันไปเสมอ

วิธีปรับสมดุลที่จุดนี้คือ

๑. นั่งขัดสมาธิเพชร แล้วค่อยๆเอนตัวนอนหงาย ให้หายใจเข้าออกลึกๆ พร้อมกับพนมมือยึดไปทางศีรษะให้สุด เมื่อหายใจเข้าไปแล้วให้กลั้นไว้ นับ ๑-๑๐ ในใจ จึงค่อยๆเป่าลมออก ทำอย่างนี้จนอาการค่อยดีขึ้น

การหายใจเข้าไปลึกๆ คือ การเอาออกซิเจนเข้าไปแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทิ้ง

หินปูนและพังผึด ที่เกาะบริเวณนี้ จะค่อยๆสลายไป เนื่องจากบริเวณที่มีเลือดเป็นกรด จะเกิดหินปูนเกาะได้ เมื่อแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ความเป็นกรดของเลือดก็จะลดลง แต่ถ้าปรับด้วยวิธีนี้แล้ว ยังไม่หายดี ก็ควรใช้วิธีต่อไป

๒. ปรับโดยวิธีการกดจุดสลักเพชร - จุดถุงน้ำดี(GB30) ด้วยการใช้ตั้งแต่นิ้วโป้ง ฝ่ามือ ส้นเท้า เข่า หรือไม้สำหรับกดจุด กดบริเวณนี้ โดยเริ่มจากเบาที่สุดก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักในการกด เริ่มจากนิ้วโป้งไปตามลำดับหรือตามชอบ โดยการคลึงไปให้ทั่วๆ รอบๆ จุดสลักเพชรพร้อมกับให้คนไข้ปรับลมหายใจ ด้วยการหายใจเข้าลึกๆ แล้วเป่าลมออกยาวๆ เพื่อลดอาการเจ็บเวลาถูกกดจุด

๓. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น รีบเข้านอนก่อนสามทุ่ม หากเกิดความเครียดเมื่อไหร่ ให้รีบปรับลมหายใจให้หายใจยาวๆไว้ก่อน เปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่ชั่วคราว เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง หันมานับลมหายใจให้ได้อย่างน้อย ๓๐๐ ครั้ง เพื่อให้จิตอยู่กับลมหายใจแทน

๔. นอนหงายราบกับพื้น ชันเข่าทั้งสองข้าง ปลายเท้าชิดกันอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเริ่มต้นบริหารโดยโยกขาทั้งสองข้างเหมือนผีเสื้อกระพือปีกบินอย่างช้าๆ ทำไปพร้อมกับปรับลมหายใจให้เข้ากับท่ากระพือ ตอนที่กำลังแบะขาออกนั้นให้พยายามแบะมากๆ(ให้เข่าติดพื้นทั้งสองข้าง) อาจจะเจ็บนิดๆ แต่เมื่อบริหารไปบ่อยๆ จะค่อยๆดีขึ้นเอง

๕. ใช้ท่านอนคล่ำ เอามือแนบลำตัว คอพลิกตะแคงขวา หายใจเข้าไปลึกๆ แล้วค่อยๆเป่าลมออก พร้อมกับเหยียดเท้าซ้ายให้ตึงยกขึ้นช้าๆ เอี้ยวคอทางขวาขึ้นมามองปลายเท้าซ้ายให้ได้ เมื่อทำได้แล้ว ก็ให้พลิกคอไปอีกข้างหนึ่ง แล้วยกขาขวาเหยียดตึงขึ้นเอี้ยวคอทางซ้ายเพิ่อมองปลายเท้าซ้ายให้ได้ ทำอย่างนี้ไปมาจนอาการปวดดีขึ้น

ทุกครั้งที่จะปรับสมดุล ควรดื่มน้ำผักผลไม้ปั้น เช่น น้ำผักปั่น หรือ น้ำคั้นผักใบเขียวต่างๆที่หาได้ง่ายๆในพื้นที่ เช่น หญ้าปักกิ่ง หญ้าม้าอ่อมแซบ ใบหญ้านาง ใบกระเจี๊ยบ ยิ่งหาได้หลายชนิดยิ่งดี นำมารวมกัน แล้วใส่น้ำมะนาว หรือน้ำมะขาม ผสมน้ำผึ้งหรือน้ำตาลแดงนิดหน่อย พอหวาน เพื่อให้รสอร่อยเป็นกลาง เมื่อดื่มก่อนปรับสมดุลทุกครั้ง จะทำให้ร่างกายปรับสมดุลได้เร็วยิ่งขึ้น

การที่เรามีปัญหาที่จุดสลักเพชรนั้น หมายถึงร่างกายกำลังต้องการสารอาหารจำนวนมากไปสร้างเม็ดเลิอด ฮอร์โมน และน้ำหล่อเลี้ยงในส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าปวดมากแสดงว่าขาดสารอาหารมาก เราควรใช้การปรับสมดุลตามวิธีที่ได้กล้าวมาแล้ว