วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD)

เป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในประเทศไทยในระยะสิบปีหลังนี้ อุบัติการในประเทศไทยสำรวจโดย รศ.นพ.อุดม คชินทร ศิริราชและคณะสำรวจในปี ค.ศ. 1996 พบ 4.9% ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 สำรวจประชากรไทยทั่วประเทศ 3120 รายโดยชมรมโมทิลิตี้คลับ พบอุบัติการณ์ 7.4 % เช่นเดียวกับอุบัติการของประเทศอื่นๆก็เพิ่มขึ้น อาจเนื่องจากการใช้ชีวิตที่เป็นตะวันตกมากขึ้น ภาวะนี้เกิดจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนผ่านหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างทำให้เกิดการระคายเคืองของหลอดอาหารเรียก Erosive Esophagitis และไม่มีการอักเสบ-Nonerosive Esophagitis ก็ได้ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ 60-70%ไม่มีการระคายเคืองของหลอดอาหารแต่มีอาการที่เกิดจากการระคายเคืองได้แก่ แสบร้อนหน้าอกหรือเรอเปรี้ยว มักพบในคนอ้วน คนที่ทานอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป หรือ ทานแล้วนอนทันทีหรือนอนหัวต่ำ(เคยหนุนหมอน เผลอหลับไปโดยไม่ได้หนุน) หากภาวะกรดไหลย้อนเป็นซ้ำๆ หลายๆปีโดยไม่ได้รักษา ภาวะอักเสบเรื้อรังอาจกลายเป็นระยะแรกของมะเร็งหลอดอาหารส่วนล่างได้ (Barrett’s esophagus) ในคนที่มีภาวะกรดไหลย้อนที่ไม่ได้รักษามากกว่า 20 ปีมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าปกติ 16 เท่า

อาการของกรดไหลย้อนที่พบบ่อยได้แก่
1. แสบร้อนหน้าอก (Heartburn)



2.เรอบ่อยหรือเรอเปรี้ยวหรือมีเศษอาหารขึ้นมา (Regurgitation)
3.มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนหรือกลืนไม่สะดวก (Trouble swallowing or dysphagia)




อาการที่พบได้น้อยกว่า
เจ็บเวลากลืน (odynophagia)
น้ำลายมากผิกปกติ โดยเฉพาะช่วงที่มีอาการแสบร้อนหน้าอก เพราะน้ำลายเป็นด่าง ช่วยลดอาการของกรดไหลย้อนได้
คลื่นไส้
เจ็บหน้าอก บางครั้งทำให้เข้าใจผิดเป็นโรคหัวใจได้

ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของกรดไหลย้อนที่เกิดขึ้นที่หลอดอาหาร(Typical GERD) ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่อาการแสดงเกิดขึ้นนอกหลอดอาหาร (Extraesophageal or Atypical reflux disease) เช่น เจ็บคอ ไอเรื้อรัง หรือ หอบหืดที่รักษาไม่ค่อยหาย

การรักษา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานมักต้องทำร่วมกับการรักษาทางยาจึงจะได้ผล

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

สิ่งที่ทำให้ภาวะกรดไหลย้อนเป็นมากขึ้นหรือไม่หายขาดได้แก่

อาหารรสเปรี้ยว มะเขือเทศ ช็อคโกเล็ต เปปเปอร์มิ้นต์ กระหล่ำปลี

น้ำอัดลม กาแฟ แอลกอฮอร์ หรือแม้แต่วิตามินซีโดยเฉพาะหากรับประทานก่อนเข้านอน

อาหารที่มีไขมันสูง

ทานอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป

การทานนมก่อนนอนก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะในนมมีไขมันมากและแคลเซี่ยม ซึ่งกระตุ้นให้กรดออกมามากขึ้น

การสูบบุหรี่



การปฏิบัติที่ทำให้ภาวะกรดไหลย้อนดีขึ้น ได้แก่ การลดน้ำหนักและการนอนศีรษะสูงขึ้น รวมถึงการนอนตะแคงซ้าย สามารถลดอาการที่เป็นบ่อยให้ลดลง

การรักษาด้วยยา
กลุ่มยาที่ได้ผลดีที่สุดได้แก่ Proton pump inhibitors เช่น omeprazole, pantoprazole, lansoprazole, หรือ rabeprazole
กลุ่มยาที่ได้ผลเพียง 50% ได้แก่ Gastric H2 receptor blockers เช่น ranitidine, famotidine and cimetidine ใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
ยาลดกรด รับประทานก่อนอาหารและเมื่อมีอาหาร เป็นการรักษาตามอาการ ใช้เสริมกับยาดังกล่าวข้างต้นได้
ยาเคลือบผนังหลอดอาหาร (Alginic acid หรือชื่อการค้า Gaviscon) ได้ผลดีกว่า H2 receptor blockers

การรักษาด้วยยา มีวิธีการให้สองวิธีคือ ยาฤทธิ์อ่อนไปแรง "step-up" หรือ ยาแรงตั้งแต่แรกเมื่ออาการดีขึ้นค่อยๆลดยาลงเพียงพอที่จะคุมอาการได้ เรียก "step-down" แล้วคงยาไว้ระยะหนึ่งค่อยหยุดยา หากหยุดยาแล้วอาการกลับเป็นอีก อาจต้องทานติดต่อไปเป็นเดือนหรือเป็นปี

การรักษาด้วยการผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดเย็บเพิ่มความแข็งแรงของหูรูดหลอดอาหาร จะกระทำเมื่อผู้ป่วยอายุน้อย ไม่ต้องการรับประทานยานานๆ หรือ ผ่าตัดเมื่อหลอดอาหารกลายเป็นมะเร็งแล้ว



เอกสารอ้างอิง

www.wikipedia.org

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก