วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นอนหลับและนอนไม่หลับ – ทฤษฏีแพทย์แผนจีน

ในทฤษฎีแพทย์จีน หยางทำให้ตื่น อินทำให้หลับ การนอนไม่หลับเป็นผลจากการที่หยางไม่สามารถรวมตัวกับอิน(หยิน) ในขณะที่อาการอ่อนเพลียอยากนอนเป็นผลจากการที่หยางไม่สามารถแยกตัวจากอิน


นอนไม่หลับ

1 นอนหลับยาก ร่วมกับอาการหงุดหงิดรำคาญ ร้อนที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เหงื่อออกตอนนอน ฝันมาก ปวดเอวเข่าอ่อน พบในภาวะที่หัวใจและไตไม่ประสานกัน

2 ตื่นง่าย ร่วมกับใจสั่น หลงลืม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย สีหน้าซีด ชีพจรอ่อนแรง พบในภาวะหัวใจและม้ามพร่อง หรือเลือดพร่อง

3 นอนไม่หลับ และอืดแน่นอึดอัดใต้ลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว ฝ้าลิ้นหนาเหมือนเต้าหู้ พบในภาวะอาหารตกค้างในกระเพาะอาหาร

4 นอนไม่หลับ และเหนื่อยหอบ ใจสั่น บวม พบในภาวะหยางหัวใจและไตพร่อง

5 นอนหลับๆ ตื่นๆ เวียนศีระษะ ตกใจง่าย คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม พบในภาวะชี่ถุงน้ำดีติดขัด มีเสมหะรบกวนเสินของหัวใจ



ง่วงนอนผิดปกติ

1 ง่วงนอน รู้สึกหนักเปลือกตาไม่อยากลืม แน่นอึดอัดทรวงอก เมื่อยหนักตามลำตัว เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ฝ้าลิ้นเหนียว ชีพจรอ่อน พบในภาวะเสมหะความชื้นสะสมกระทบหยางม้าม

2 ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หายใจสั้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซูบผอม ชีพจรอ่อนแรง พบในภาวะชี่ม้ามพร่อง

3 ง่วงนอน อ่อนเพลียและมีไข้ เพ้อหรือซึม กำเริบมากเวลากลางคืน ลิ้นแดงจัด ชีพจรเร็ว พบในภาวะไฟรุกรานเยื่อหุ้มหัวใจ

4 อ่อนเพลียมาก อยากนอนไม่ทนหนาว มือเท้าเย็น พบในภาวะหยางหัวใจและไตพร่อง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก