วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปวดสะโพก – ปวดบริเวณสลักเพชร

คัดลอกมาจากหนังสือเส้นสายสร้างดุลยภาพ โดยล้อเกวียน สำนักพิมพ์บริษัทฟ้าอภัยจำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ตำแหน่งของจุดที่อยู่ตรง “สลักเพชร” คือเวลานอนตะแคงแล้วจะเห็นจุดที่นูนที่สุด ซึ่งเป็นบริเวณข้อต่อขากับลำตัว มันคือจุดของถุงน้ำดี(GB30) เมื่อเกิดอาการปวดบริเวณนี้ ร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนเราว่า ร่างกายกำลังเสียสมดุลที่อวัยวะถุงน้ำดี ถ้าเสียสมดุลมาต่อเนื่อง ความปวดก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บอกถึงการเสียสมดุลต่างๆ ดังนี้

๑. นอนดึกเกิน ๓ ทุ่ม บ่อยๆ

๒. คร่ำเครียดกับงานประจำ หรืองานต่างๆ ทั้งใช้ความคิด หรือใช้กำลังกาย

๓. ลืมหายใจลึกๆยาวๆ หายใจสั้นๆจนเคยชิน

๔. นอนไม่ค่อยหลับ ชอบตื่นกลางดึก

๕. นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

๖. กินอาหารที่มีคลอโรฟิลน้อยไป แต่กินอาหารหวาน อาหารทอดมากเกินไป

๗. นอนในห้องที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเสมอๆ

บางครั้งไม่ปวดจุดนี้จัดเดียว แต่จะปวดไปตามเส้นถุงน้ำดีต่างๆที่พาดผ่าน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเสียสมดุลมากน้อยเพียงใด บางครั้งปวดจากจุดสลักเพชร แล้วลามไปถึงกระดูกขาท่อนบน มีอาการเหมือนปวดร้าวเมื่อยๆ หมายถึงร่างกายสูญเสียความสมดุลของเลือดไปจำนวนมาก อาจเกิดจากการนอนดึก หรือมีงานเครียดตลอดเวลา จนกระทั่งเม็ดเลือดแดงแตกเป็นจำนวนมาก บริเวณกระดูกขาท่อนบนนี้เป็นกระดูกท่อนที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ซึ่งมีโพรงกระดูกจำนวนมากสำหรับผลิตเม็ดเลือดสร้างไขกระดูก เพื่อชดเชยส่วนที่ขาด เมื่อชดเชยไม่ทัน จำทำให้ร่างกายเกิดอาการเช่นนั้น

ที่ตำแหน่งนี้(GB30) ยังมีเส้นกระเพาะปัสสาวะ(UB30,32,33,34) (ดูตามรูป) พาดผ่านอยู่ข้างๆแนวกระดูกก้นกบ จึงมีปัญหาตามกันมาด้วยการที่มีอาหารปวดที่เส้นนี้ บอกถึงกระเพาะปัสสาวะมีกรดที่ถุงระบายเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังระบายไม่หมด จึงปรากฎอาการปวดตามเส้นกระเพาะปัสสาวะคู่กันไปเสมอ

วิธีปรับสมดุลที่จุดนี้คือ

๑. นั่งขัดสมาธิเพชร แล้วค่อยๆเอนตัวนอนหงาย ให้หายใจเข้าออกลึกๆ พร้อมกับพนมมือยึดไปทางศีรษะให้สุด เมื่อหายใจเข้าไปแล้วให้กลั้นไว้ นับ ๑-๑๐ ในใจ จึงค่อยๆเป่าลมออก ทำอย่างนี้จนอาการค่อยดีขึ้น

การหายใจเข้าไปลึกๆ คือ การเอาออกซิเจนเข้าไปแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทิ้ง

หินปูนและพังผึด ที่เกาะบริเวณนี้ จะค่อยๆสลายไป เนื่องจากบริเวณที่มีเลือดเป็นกรด จะเกิดหินปูนเกาะได้ เมื่อแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ความเป็นกรดของเลือดก็จะลดลง แต่ถ้าปรับด้วยวิธีนี้แล้ว ยังไม่หายดี ก็ควรใช้วิธีต่อไป

๒. ปรับโดยวิธีการกดจุดสลักเพชร - จุดถุงน้ำดี(GB30) ด้วยการใช้ตั้งแต่นิ้วโป้ง ฝ่ามือ ส้นเท้า เข่า หรือไม้สำหรับกดจุด กดบริเวณนี้ โดยเริ่มจากเบาที่สุดก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักในการกด เริ่มจากนิ้วโป้งไปตามลำดับหรือตามชอบ โดยการคลึงไปให้ทั่วๆ รอบๆ จุดสลักเพชรพร้อมกับให้คนไข้ปรับลมหายใจ ด้วยการหายใจเข้าลึกๆ แล้วเป่าลมออกยาวๆ เพื่อลดอาการเจ็บเวลาถูกกดจุด

๓. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น รีบเข้านอนก่อนสามทุ่ม หากเกิดความเครียดเมื่อไหร่ ให้รีบปรับลมหายใจให้หายใจยาวๆไว้ก่อน เปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่ชั่วคราว เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง หันมานับลมหายใจให้ได้อย่างน้อย ๓๐๐ ครั้ง เพื่อให้จิตอยู่กับลมหายใจแทน

๔. นอนหงายราบกับพื้น ชันเข่าทั้งสองข้าง ปลายเท้าชิดกันอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเริ่มต้นบริหารโดยโยกขาทั้งสองข้างเหมือนผีเสื้อกระพือปีกบินอย่างช้าๆ ทำไปพร้อมกับปรับลมหายใจให้เข้ากับท่ากระพือ ตอนที่กำลังแบะขาออกนั้นให้พยายามแบะมากๆ(ให้เข่าติดพื้นทั้งสองข้าง) อาจจะเจ็บนิดๆ แต่เมื่อบริหารไปบ่อยๆ จะค่อยๆดีขึ้นเอง

๕. ใช้ท่านอนคล่ำ เอามือแนบลำตัว คอพลิกตะแคงขวา หายใจเข้าไปลึกๆ แล้วค่อยๆเป่าลมออก พร้อมกับเหยียดเท้าซ้ายให้ตึงยกขึ้นช้าๆ เอี้ยวคอทางขวาขึ้นมามองปลายเท้าซ้ายให้ได้ เมื่อทำได้แล้ว ก็ให้พลิกคอไปอีกข้างหนึ่ง แล้วยกขาขวาเหยียดตึงขึ้นเอี้ยวคอทางซ้ายเพิ่อมองปลายเท้าซ้ายให้ได้ ทำอย่างนี้ไปมาจนอาการปวดดีขึ้น

ทุกครั้งที่จะปรับสมดุล ควรดื่มน้ำผักผลไม้ปั้น เช่น น้ำผักปั่น หรือ น้ำคั้นผักใบเขียวต่างๆที่หาได้ง่ายๆในพื้นที่ เช่น หญ้าปักกิ่ง หญ้าม้าอ่อมแซบ ใบหญ้านาง ใบกระเจี๊ยบ ยิ่งหาได้หลายชนิดยิ่งดี นำมารวมกัน แล้วใส่น้ำมะนาว หรือน้ำมะขาม ผสมน้ำผึ้งหรือน้ำตาลแดงนิดหน่อย พอหวาน เพื่อให้รสอร่อยเป็นกลาง เมื่อดื่มก่อนปรับสมดุลทุกครั้ง จะทำให้ร่างกายปรับสมดุลได้เร็วยิ่งขึ้น

การที่เรามีปัญหาที่จุดสลักเพชรนั้น หมายถึงร่างกายกำลังต้องการสารอาหารจำนวนมากไปสร้างเม็ดเลิอด ฮอร์โมน และน้ำหล่อเลี้ยงในส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าปวดมากแสดงว่าขาดสารอาหารมาก เราควรใช้การปรับสมดุลตามวิธีที่ได้กล้าวมาแล้ว

1 ความคิดเห็น:

เวลา 9/08/2557 1:10 หลังเที่ยง , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มีประโยชน์มากให้ความรู้และเป็นวิทยาทานด้วย

 

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก