วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564

 

การวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ใหญ่                 Dr. Lew

 

 

อาการปวดท้องเฉียบพลัน(ไม่เกิน1-2สัปดาห์)ในผู้ใหญ๋(อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ โดยเฉพาะอุบัติการณ์จากห้องฉุกเฉินตั้งแต่ 5-10 %  สาเหตุแตกต่างไปตามประเทศ ภูมิภาค ครอบคลุมโรคจากหลายระบบ ต้องได้รับการวินิจฉัยและดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์เวชปฏิบัติ แพทย์ห้องฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ สุตินารีแพทย์ เป็นต้น อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในช่องท้องแล้วยังอาจมาจากนอกช่องท้องได้แก่ปวดท้องเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบและปอดอักเสบ เป็นต้น โดยข้อมูลที่นำมาใช้ช่วยวินิจฉัยได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ สภาพสมรส ประจำเดือนครั้งสุดท้าย(เฉพาะหญิง)

บทความนี้เป็นการกล่าวถึงโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้คร่าวๆ เพราะอาศัยข้อมูลจากประวัติอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งย่อมต้องมีข้อจำกัดมาก ดังนั้นไม่สามารถใช้แทนการตรวจของแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ นำไปอ้างอิงหรือการฟ้องร้องใดๆทั้งสิ้น

การวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ใหญ่มีประมาณ 25 โรคครอบคลุมถึงอาการปวดท้องเฉียบพลันที่สามารถทำให้ถึงกับชีวิตได้หากไปโรงพยาบาลไม่ทัน เช่น โรคเส้นเลือดใหญ่เอออร์ตาในท้องแตก ท้องนอกมดลูก กระเพาะทะลุ เป็นต้น ดังนั้นไม่ควรเสียเวลาในการพยายามหาคำตอบจากโปรแกรมมากกว่าการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินหรือโรงพยาบายเพื่อการรักษาที่ถูกต้องมากกว่า

 

สิ่งที่แพทย์จะซักประวัติเพื่อช่วยการวินิจฉัย ได้แก่

1.    ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ สภาพสมรส ประจำเดือนครั้งสุดท้าย(เฉพาะหญิง เพื่อคำนวณระยะเวลาไข่ตก ภาวะประจำเดือนขาด-ตั้งครรภ์) เกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นได้ เข่น ปวดท้องจากไข่ตกยืนยันจากระยะรอบเดือน และอาการปวดท้องจากท้องนอกมดลูกยืนยันและเกี่ยวข้องกับการขาดประจำเดือน-ตั้งครรภ์ เป็นต้น

2.    อายุมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคปวดท้องที่เป็นตามกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะสำไส้ขาดเลือด ภาวะกระเปาะลำไส้อักเสบหรือมีเลือดออก ภาวะลำไส้อุดตัน และเส้นเลือดใหญ่เอออร์ต้นปลิหรือแตก เป็นต้น อายุน้อยมีโอกาสเป็นตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบและถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น

3.    อาการปวดท้องเฉียบพลันแต่ละโรคสามารถแยกกันได้ด้วยความเฉียบพลันที่เกิด-น้อยกว่า 24 ชั่วโมง(ทันที เป็นพักๆ ค่อยๆปวดมากขึ้น) ความรุนแรง(3.1 อ้างอิง ร.พ.บ้านตาก) ลักษณะการปวด(บีบเป็นพักๆ ตื้อๆ ร้าวๆ) ตำแหน่งที่ปวด(ท้องด้านขวาบน-ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วอุดตันในท่อน้ำดี บริเวณลิ้นปี่-โรคกระเพาะ โรคตับอ่อน บริเวณท้องด้านซ้ายบน-ม้าม ไต บริเวณรอบสะดือ-ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง บริเวณท้องน้อยด้านขวา-ไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องจากไข่ตก ท้องนอกมดลูกและปวดจากปีกมดลูกอักเสบ บริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย-ปวดท้องจากไข่ตก ท้องนอกมดลูกและปวดจากปีกมดลูกอักเสบ เป็นต้นและอาการปวดร้าวหรือย้ายตำแหน่งปวด-ไส้ติ่งอักเสบจากปวดรอบสะดือย้ายมาท้องน้อยด้านขวา ถุงน้ำดีอักเสบปวดจากท้องด้านขวาบนและสะบักด้านขวาด้วยและนิ่วจากท่อปัสสาวะปวดท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวาแล้วร้าวลงไปขาหนีบหรือต้นขาด้านในได้เป็นต้น

 

ความรุนแรงของความปวด ใช้ตัวเลขแทนความปวดตั้งแต่ 0-10 (Numeric Rating Scale-NRS)

คะแนน    

0

หมายถึง

ไม่ปวด ขยับตัวก็ไม่ปวด

คะแนน

1-3

หมายถึง

ปวดเล็กน้อยพอทนได้ นอนเฉยๆไม่ปวด ขยับแล้วปวดเล็กน้อย

คะแนน

4-6

หมายถึง

ปวดปานกลาง นอนเฉยๆก็ปวด ขยับก็ปวด

คะแนน

7-10

หมายถึง

ปวดมากที่สุดจนทนไม่ได้ แม้นอนนิ่งๆ

 

4.    อาการที่เกี่ยวข้องที่สำคัญได้แก่ ไข้หมายถึงมีการอักเสบของอวัยวะในท้องที่ทำให้ปวดท้องเข่น ไส้ติ่ง ถุงน้ำดีหรือปีกมดลูกอักเสบเป็นต้น หน้ามืดหรือช็อคหมายถึงมีการเสียเลือดหรือน้ำ เข่น เลือดออกจากเส้นเลือดใหญ่เอออร์ต้าปริหรือแตก เลือดออกจากกระเปาะลำไส้ กระเพาะทะลุและท้องนอกมดลูก หรือการเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง เป็นต้น

5.    อาการอื่นที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญช่วยการวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันได้แก่ ถ่ายเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีอาการตกขาว ส่วนอาการอื่นที่อาจเกี่ยงข้องแต่ไม่ค่อยจำเพาะต่อการวินิจฉัยได้แก่ ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้หรืออาเจียน เป็นต้น

 

Key words: acute, abdomen, pain, emergency, severe, adult, menstruation,  ovulation, bleeding, fever, shock.

ป้ายกำกับ: , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก