วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564

Tradintional Chinese Medicine, introduction บทนำการแพทย์แผนจีน


 

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564

 

อาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้หญิง                                    Dr. Lew

 

อาการปวดท้องเฉียบพลันในเพศหญิง บางครั้งปวดรุนแรงจนต้องไปห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลต่าง ๆในและนอกเวลาราชการ แบ่งตามวัยและการมีประจำเดือน ถ้าหมดประจำเดือนแล้วและมีอายุมากขึ้น เป็นการปวดจากสภาวะความเสื่อมของอวัยวะเช่นเส้นเลือดตีบจากภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด(เส้นเลือดหัวใจตีบ) เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ได้แก่ ลำไส้เน่าเนื่องจากขาดเลือด(ischemic bowel disease) เพราะเส้นเลือดที่มาเลี้ยงตีบตันหรือมีตะกอนมาอุด ภาวะเส้นเลือดใหญ่ท้องปริหรือแตก(rupture aortic aneurism) ภาวะผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้แก่กระเปาะลำไส้(colonic diverticulosis) ซึ่งสามารถแสดงออกด้วยการเกิดการอักเสบของกระเปา(diverticulitis) ภาวะเลือดออกจากกระเปาะลำไส้ (diverticular bleeding) และภาวะกระเปาะลำไส้ทะลุ(diverticular rupture) นอกจากนี้ยังมีโรคนิ่วอุดตันของท่อในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ถุงน้ำดีอักเสบและติดเชื้อเนื่องจากนิ่วถุงน้ำดีอุดตันท่อน้ำดี(cholecystitis)  ภาวะไส้ติ่งอักเสบ(acute appendicitis) ภาวะนิ่วในท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการปวดและตำแหน่งปวดไม่แตกต่างกันกับในผู้ชาย

          ส่วนอาการปวดท้องเฉพาะในเพศหญิงที่ยังมีประจำเดือน(วันเจริญพันธ์) มักเกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์และเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แพทย์มักจะต้องซักประวัติคู่ครอง(การมีเพศสัมพันธ์) วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อคำนวณถึงระยะหรือช่วงของประจำเดือน การตกไข่ และการตั้งครรภ์มากแล้วเป็นระยะเวลาเท่าใดตามรายละเอียดของแต่ละโรคดังนี้

 

ปีกมดลูกอักเสบหรือการติดเชื้อของปีกมดลูก (Pelvic inflammatory disease)

ปวดท้องในหญิงวันเจริญพันธ์ที่เกิดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ เชื้อผ่านเข้าทางท่อรังไข่และทำให้มีการอักเสบของท่อรังไข่ มักมีอาการตกขาว มีหนองออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างร่วมกับ มีไข้ เกิดช่วงไหนของประจำเดือนก็ได้ แต่ส่วนมากมักเกิดก่อนและหลังประจำเดือน

 

ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

          ปวดท้องในหญิงวันเจริญพันธ์ที่ขาดประจำเดือนหรือคิดว่าตั้งท้อง แต่เกิดเนื่องจากเชื้ออสุจิและไข่ผสมแล้วเดินทางมาไม่ถึงมดลูก  ทำให้มีการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วเกาะติดอยู่ในท่อรังไข่ ทำให้มีเลือดออก หรือทำให้ท่อรังไข่ทะลุ เลือดออกในอุ้งเชิงกราน ประวัติที่ช่วยคืออาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงด้ายใดด้านหนึ่ง ซีดร่วมกับความดันโลหิตต่ำ ในหญิงวันเจริญพันธ์ที่ขาดประจำเดือน(สงสัยตั้งครรภ์)

 

เยื่อบุมดลูกผิดที่ (Endometriosis)

          ปวดท้องในหญิงวัยเจริญพันธ์เริ่มมีประจำเดือนอายุน้อย ยังไม่เคยตั้งท้อง หรือได้รับฮอร์โมนอีสโตรเจนเพื่อการรักษามาก่อน อาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือนยาวถึงหลังประจำเดือน อาจจะปวดตรงกลาง(หลังมดลูก) ท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ส่วนไหนของช่องท้องก็ได้ อาการปวดน้อยถึงปานกลาง  เกิดขึ้นซ้ำทุกๆรอบเดือนคล้ายปวดประจำเดือนแต่อาการรุนแรงกว่า

 

รังไข่บิดตัว (Ovarian torsion)

            ปวดท้องที่เกิดได้ในหญิงทุกอายู ทุกช่วงเวลาของรอบเดือน มักตามหลังการออกกำลังกายที่รุนแรงหรืออย่างหนักในหญิงที่มีรังไข่ขนาดใหญ่(โดยเฉพาะมากกว่า 5 ซ.ม.ขึ้นไป) เกิดจากการบิดตัวของขั้วรังไข่ ทำให้รังไข่ข้างนั้นขาดเลือดไปเลี้ยงจึงเกิดการปวดขึ้น

อุบัติการณ์ข้างขวามากกว่าข้างซ้าย เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูตินารีที่ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดเร่งด่วน อาการปวดจะรุนแรงมาก อาจปวดร้าวไปขาหนีบ ด้านหลังหรือชายโครงด้านนั้นๆได้ อาการปวดเกิดขึ้นทันทีทันใด ร่วมกับคลื่นไส้ ส่วนน้อยจะมีไข้ต่ำๆได้

 

ปวดร่วมกับไข่ตก (Corpus luteal rupture)

            อาการปวดท้องในหญิงวันเจริญพันธ์ เกิดขึ้นทันทีหลังออกกำลังกายหรือมีเพศสัมพันธ์ ปวดปานกลางถึงปวดมาก ปวดท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง ปวดมากขึ้นเมื่อลุกนั่ง อาจปวดร้าวไปต้นขา(psoas muscle irritation) ช่วงเวลาที่เกิดจะอยู่ในช่วงกึ่งกลางของรอบประจำเดือน(mid cycle pain) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของไข่ตก ไข่บางฟองอาจจะมีสารน้ำที่ออกมาพร้อมไข่จำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบุข่องท้อง ทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้น

         

หมายเหตุ:

บทความนี้เผยแพร่เป็นความรู้แก่ประชาชน ไม่สามารถทดแทนการตรวจที่ถูกต้องจากแพทย์ได้

 

Key words: acute, abdomen, pain, emergency, severe, adult, menstruation,  ovulation, bleeding, fever, shock.

ป้ายกำกับ: , ,

 

การวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ใหญ่                 Dr. Lew

 

 

อาการปวดท้องเฉียบพลัน(ไม่เกิน1-2สัปดาห์)ในผู้ใหญ๋(อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ โดยเฉพาะอุบัติการณ์จากห้องฉุกเฉินตั้งแต่ 5-10 %  สาเหตุแตกต่างไปตามประเทศ ภูมิภาค ครอบคลุมโรคจากหลายระบบ ต้องได้รับการวินิจฉัยและดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์เวชปฏิบัติ แพทย์ห้องฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ สุตินารีแพทย์ เป็นต้น อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในช่องท้องแล้วยังอาจมาจากนอกช่องท้องได้แก่ปวดท้องเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบและปอดอักเสบ เป็นต้น โดยข้อมูลที่นำมาใช้ช่วยวินิจฉัยได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ สภาพสมรส ประจำเดือนครั้งสุดท้าย(เฉพาะหญิง)

บทความนี้เป็นการกล่าวถึงโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้คร่าวๆ เพราะอาศัยข้อมูลจากประวัติอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งย่อมต้องมีข้อจำกัดมาก ดังนั้นไม่สามารถใช้แทนการตรวจของแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ นำไปอ้างอิงหรือการฟ้องร้องใดๆทั้งสิ้น

การวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ใหญ่มีประมาณ 25 โรคครอบคลุมถึงอาการปวดท้องเฉียบพลันที่สามารถทำให้ถึงกับชีวิตได้หากไปโรงพยาบาลไม่ทัน เช่น โรคเส้นเลือดใหญ่เอออร์ตาในท้องแตก ท้องนอกมดลูก กระเพาะทะลุ เป็นต้น ดังนั้นไม่ควรเสียเวลาในการพยายามหาคำตอบจากโปรแกรมมากกว่าการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินหรือโรงพยาบายเพื่อการรักษาที่ถูกต้องมากกว่า

 

สิ่งที่แพทย์จะซักประวัติเพื่อช่วยการวินิจฉัย ได้แก่

1.    ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ สภาพสมรส ประจำเดือนครั้งสุดท้าย(เฉพาะหญิง เพื่อคำนวณระยะเวลาไข่ตก ภาวะประจำเดือนขาด-ตั้งครรภ์) เกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นได้ เข่น ปวดท้องจากไข่ตกยืนยันจากระยะรอบเดือน และอาการปวดท้องจากท้องนอกมดลูกยืนยันและเกี่ยวข้องกับการขาดประจำเดือน-ตั้งครรภ์ เป็นต้น

2.    อายุมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคปวดท้องที่เป็นตามกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะสำไส้ขาดเลือด ภาวะกระเปาะลำไส้อักเสบหรือมีเลือดออก ภาวะลำไส้อุดตัน และเส้นเลือดใหญ่เอออร์ต้นปลิหรือแตก เป็นต้น อายุน้อยมีโอกาสเป็นตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบและถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น

3.    อาการปวดท้องเฉียบพลันแต่ละโรคสามารถแยกกันได้ด้วยความเฉียบพลันที่เกิด-น้อยกว่า 24 ชั่วโมง(ทันที เป็นพักๆ ค่อยๆปวดมากขึ้น) ความรุนแรง(3.1 อ้างอิง ร.พ.บ้านตาก) ลักษณะการปวด(บีบเป็นพักๆ ตื้อๆ ร้าวๆ) ตำแหน่งที่ปวด(ท้องด้านขวาบน-ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วอุดตันในท่อน้ำดี บริเวณลิ้นปี่-โรคกระเพาะ โรคตับอ่อน บริเวณท้องด้านซ้ายบน-ม้าม ไต บริเวณรอบสะดือ-ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง บริเวณท้องน้อยด้านขวา-ไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องจากไข่ตก ท้องนอกมดลูกและปวดจากปีกมดลูกอักเสบ บริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย-ปวดท้องจากไข่ตก ท้องนอกมดลูกและปวดจากปีกมดลูกอักเสบ เป็นต้นและอาการปวดร้าวหรือย้ายตำแหน่งปวด-ไส้ติ่งอักเสบจากปวดรอบสะดือย้ายมาท้องน้อยด้านขวา ถุงน้ำดีอักเสบปวดจากท้องด้านขวาบนและสะบักด้านขวาด้วยและนิ่วจากท่อปัสสาวะปวดท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวาแล้วร้าวลงไปขาหนีบหรือต้นขาด้านในได้เป็นต้น

 

ความรุนแรงของความปวด ใช้ตัวเลขแทนความปวดตั้งแต่ 0-10 (Numeric Rating Scale-NRS)

คะแนน    

0

หมายถึง

ไม่ปวด ขยับตัวก็ไม่ปวด

คะแนน

1-3

หมายถึง

ปวดเล็กน้อยพอทนได้ นอนเฉยๆไม่ปวด ขยับแล้วปวดเล็กน้อย

คะแนน

4-6

หมายถึง

ปวดปานกลาง นอนเฉยๆก็ปวด ขยับก็ปวด

คะแนน

7-10

หมายถึง

ปวดมากที่สุดจนทนไม่ได้ แม้นอนนิ่งๆ

 

4.    อาการที่เกี่ยวข้องที่สำคัญได้แก่ ไข้หมายถึงมีการอักเสบของอวัยวะในท้องที่ทำให้ปวดท้องเข่น ไส้ติ่ง ถุงน้ำดีหรือปีกมดลูกอักเสบเป็นต้น หน้ามืดหรือช็อคหมายถึงมีการเสียเลือดหรือน้ำ เข่น เลือดออกจากเส้นเลือดใหญ่เอออร์ต้าปริหรือแตก เลือดออกจากกระเปาะลำไส้ กระเพาะทะลุและท้องนอกมดลูก หรือการเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง เป็นต้น

5.    อาการอื่นที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญช่วยการวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันได้แก่ ถ่ายเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีอาการตกขาว ส่วนอาการอื่นที่อาจเกี่ยงข้องแต่ไม่ค่อยจำเพาะต่อการวินิจฉัยได้แก่ ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้หรืออาเจียน เป็นต้น

 

Key words: acute, abdomen, pain, emergency, severe, adult, menstruation,  ovulation, bleeding, fever, shock.

ป้ายกำกับ: , ,