Xuanzangthai
Xuanzang, The Great Monk of China, great impacts in Chinese Buddhism. All articles are about to become good health by modern medicine, Traditional Chinese Medicine(TCM) or other Alternative Medicine and ways to purify the mind or set the spirit free. บทความเหล่านี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ไม่สามารถนำไปอ้างอิงหรือฟ้องร้องใดๆทั้งสิ้น
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553
"เจดีย์หินทราย วัดป่ากุง" หรือ "บรมพุทโธเมืองไทย" 7 ชั้น
รูปแบบการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 7 ชั้น...
ชั้นที่ 1 เป็นภาพแกะสลักหินทรายเหลืองนูนต่ำ เล่าเรื่องราวซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายที่ พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมี
ชั้นที่ 2-3 เป็นภาพแกะสลักหินทรายเหลืองนูนต่ำ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า
ชั้นที่ 4 ภาพแกะสลักหินทรายเหลืองนูนต่ำรูปชัยมงคลคาถา
ชั้นที่ 5 ผนังทรงกลมฐานรององค์เจดีย์ เป็นภาพสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
ชั้นที่ 6 เป็นองค์เจดีย์ราย 8 องค์ และองค์เจดีย์ประธาน 1 องค์
ชั้นที่ 7 ยอดเจดีย์ทองคำ น้ำหนักถึง 101 บาท ทำการยกยอดเจดีย์เมื่อ พ.ศ.2547
มีพระรายล้อมเจดีย์ทั้งหมด 136 องค์ มาจากอินโดนีเซีย
ภายในเจดีย์สามารถเข้าชมได้แบ่งเป็น 2 ชั้น (ด้านใน)
ชั้นแรก จะเป็นห้องโถงโล่ง ที่ผนังบอกเล่า ประวัติหลวงปู่ศรี มหาวีโร
ชั้นที่สอง เป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ประเทศศรีลังกา ส่งมาให้หลวงปู่โดยตรง
วัด ประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง) สถานที่จำพรรษาของพระเทพวิสุทธิมงคล(หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ในทุกๆปีวัดป่ากุงจะได้จัดพิธีระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ศรี(วันคล้ายวัน เกิด) มีการสวดมนต์ จัดตั้งโรงทาน ตักบาตร ในระว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จะมีพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาร่วมงานในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก
"เจดีย์หินทราย วัดป่ากุง" หรือ "บรมพุทโธเมืองไทย" หน้า 1
เจดีย์หินทรายแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ "วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง)" ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ห่างจากตำบล หนองแสนไปทางทิศตะวันออกระยะทาง 6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลัดไปจังหวัดร้อยเอ็ด
โดยจำลองแบบมาจากมหาเจดีย์โบโรบูโด(บรมพุทโธ) ที่ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับที่มาที่ไปและแรงบันดาลใจนั้น
เกิดเมื่อครั้งที่ "พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)" พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาแห่งภาคอีสาน
ได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่า บนหลังเขาเมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย ในพรรษาที่ 43 พุทธศักราช 2531
โดยในปีนั้น(พ.ศ.2531) หลวงปู่ท่านปรารภว่า
"อยากจะหาที่เหมาะสมไปพักผ่อน เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยทรมานกาย
ตั้งแต่ออกสงเคราะห์โลก อยากจะชำระธาตุขันธ์ที่หมักหมมด้วยการงานมาหลายปี"
ประกอบ
กับขณะนั้นมีคณะศิษย์ที่อยู่ในต่างประเทศ นิมนต์ท่านไว้หลายแห่ง
คณะศิษย์จึงกราบนิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่ไร่ชา เมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย
เจ้าของไร่ชาคือ คุณยูริ ยันติ
ได้จัดที่พักบนหลังเขาและสร้างกุฏิบนต้นไม้ใหญ่ขนาดหลายคนโอบ อากาศสัปปายะ
ป่าอุดมสมบูรณ์ หลวงปู่ได้ปฏิบัติสมณธรรมตามสมณวิสัย เดินจงกรม
นั่งสมาธิไม่ได้ขาด เมื่อท่านได้ไปเยี่ยมมหาเจดีย์โบโรบูโด
ศาสนสถานที่สร้างด้วยหินขนาดใหญ่
ใช้ระเบิดทำลายก็ไม่พังไปได้หมดและมีความศักดิ์สิทธิ์มาก
หลวงปู่ท่านจึงได้ปรารภว่า
ถ้ามีโอกาสจะสร้างพระเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้บ้าง
เพราะเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ความถาวรมั่นคงของพระพุทธศาสนา
ใครพังทำลายไม่ได้ง่ายๆ สร้างเล็กๆ น้อยๆ เดี๋ยวคนเขาก็ทำลายได้ง่ายๆ
ดูอย่างพระเจดีย์โบโรบูโดยังคงสง่างาม ประกาศศักดาของความศรัทธา
ในพระพุทธศาสนาของชาวอินโด เป็นประวัติศาสตร์ของโลก"
เมื่อออกพรรษาแล้ว ธาตุขันธ์ที่เคยหมักหมมเมื่อยล้ามานานขององค์หลวงปู่ กลับกระปรี้กระเปร่าผ่องใสงดงาม
ท่านปรารถว่า "เอาล่ะ สบายแล้วคราวนี้ จะไปไหนก็ไป" หลังจากนั้นท่านและคณะศิษย์ที่ติดตามจึงเดินทางกลับประเทศไทย
(ที่มา: หนังสือสวดมนต์ ระเบียบและข้อวัตรปฏิบัติ วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง)และวัดสาขา)
เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยหลวงปู่ได้นำเรื่องราวที่ได้ไปพบ
มาเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟัง และดำริว่าจะสร้างไว้ที่เมืองไทย
โดยจำลองแบบมาจากมหาเจดีย์โบโรบูโด เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 5
มีนาคม พ.ศ.2547 ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากคณะสงฆ์วัดป่ากุงและวัดสาขา
ตลอดจนศิษยานุศิษย์ ผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่
พร้อมใจกันสละกำลังกายและกำลังทรัพย์ ทำงานทั้งกลางวันกลางคืน
ถวายเป็นการบูชาคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์
ตลอดจนเทิดทูนความดีที่หลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติ
ดำเนินการแล้วเสร็จถวายเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 90 ปี 60 พรรษา
พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2549
ฝากความห่วงใย
บันทึกนี้เป็นจดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนที่ผมรักทุกคน หลังจากที่ผมได้เกษียณมาเกือบปีแล้ว เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น จึงอยางแบ่งปันให้คนที่เรารักได้อ่านบ้าง
นับเป็นเวลาสามสิบกว่าปีที่เราทำงานหาเลี้ยงชีพ เพื่อครอบครัว เพื่อคนที่เรารัก เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำและควรทำ เป็นความปกติของสังคม เพื่อทำให้สังคมที่เราอยู่มีความเจริญก้าวหน้า ดำรงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเราไว้
แต่มีหลายๆครั้งที่ความเจ็บไข้ได้ป่วยมาเยือน ทำให้เรามีเวลาของตัวเองที่จะหยุด คิด และทบทวนเพื่อตอบคำถามตัวเองว่า ที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรเพื่อตัวเราเองมากน้อยเพียงใด เราได้ตามใจกิเลสในตัวเองบ่อยแค่ไหน เปรี้ยวปากอยากกินเบียร์ก็ได้กิน อยากซื้อของแพงๆใช้ก็ได้ซื้อ ขี้เกียจอยากนอนตื่นสายก็ได้ทำบ่อยๆ อยากกินของอร่อยๆก็ได้กิน เรื่องน้ำหนักเกิน ไขมันเกิน วันหลังค่อยว่ากัน ในฐานะชาวพุทธโดยกำเนิด เราได้ทำอะไรให้ตัวเองที่เรียกว่าเป็นบุญเป็นกุศลให้ตัวเองมากน้อยเพียงใด ถ้าเราต้องตายลงไปวันนี้ จะไปเกิดดีหรือไม่หนอ แต่น่าจะไม่ดีเพราะวันหนึ่งๆ เราทำบาปมากกว่าบุญ เช่น ขับรถมาทำงานถูกคนอื่นขับรถเบียดหรือบีบแตรใส่ ใจก็ขุ่นมัวแล้ว แถมยังกวนความโกรธให้เกิดขึ้น เป็นการขยายผลแห่งความไม่ดีให้มากขึ้น โดยที่รถคันต้นเหตุอาจไปถึงไหนแล้วก็ไม่ทราบ นี้เป็นเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น ถ้าเป็นทั้งวันแล้ว ลองนึกดูเองก็ได้ว่าใจเราเป็นกุศลหรืออกุศลมากกว่ากัน เพราะฉะนั้น เมื่อความเจ็บป่วยได้มาเยือน ก็เท่ากับว่าได้มาเตือน เตือนเราว่าชีวิตนี้มันสั้นนัก เผลอแพลบเดียวเกษียณหรือตายเสียแล้ว
ขอบคุณความเจ็บป่วยที่เป็นเสมือนเทวทูตมาเตือน ต่อไปนี้ เราจะทำอะไรเพื่อตัวเราเองบ้าง ตัดความห่วงใยต่างๆ(ห่วงไปก็เท่านั้น) ตัดธุระที่ไม่เป็นกุศล ระวังกาย วาจา ใจ รักษากาย วาจา ใจ ให้ทุกเวลานาทีมีคุณค่า เราจะมีแต่ปัจจุบัน ไม่อาลัยในสิ่งที่ผ่านมา(เพราะแก้อะไรไม่ได้แล้ว) ไม่ฟุ้งซ่านหรือกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เรามีแต่ปัจจุบัน เราจะตั้งหน้าสร้างกุศล(บุญ)ให้เกิดขึ้นทุกๆวัน บุญทำได้ทางกาย วาจาและใจ บุญทางกาย วาจาเกิดจากการมีธรรมห้า(คู่กับศีลห้า) บุญทางใจเกิดได้โดยการฝึกตามดู ตามรู้ ไม่ให้โลภะ โทสะ โมหะ มาครอบงำจิตใจ แม้ความฟุ้งซ่าน ง่วงเหงาหาวนอนในขณะทำสมาธิให้น้อยลง ให้ใจตื่น ให้ใจเบิกบาน ให้ใจสงบด้วยวิธีการฝึกของสมฌะ ซึ่งมี 40 วิธีเช่น อานาปานสติ ยุบหนอ-พองหนอ สัมมาอรหัง เป็นต้น หรือแม้แต่การทอดสายตาไปไกลๆ ปล่อยใจให้สบายๆไม่คิดอะไร ก็อาจเกิดสมาธิเบื้องต้นได้ เช่นเดียวกับการอ่านหนังสือธรรมะ การสวดมนต์ก็เป็นการทำให้ใจเป็นกุศลได้ในเบื้องต้น
กายและใจเป็นของคู่กัน เป็นสิ่งอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กายไม่สบายก็ยากที่จะทำให้ใจสงบได้ แต่การทำความเข้าใจและการฝึกสมาธิ สามารถทำให้ใจของเราออกจากกายได้ แม้เพียงชั่วขณะก็จะได้รับความสงบ ความสุขของใจที่เป็นอิสระจากความทุกข์ทางกายได้ ยิ่งถ้าฝึกได้ชำนาญแล้วดังเช่นอริยะสงฆ์หลายๆรูปที่เราได้ทราบกันว่าตอนใกล้มรณภาพแม้จะมีทุกขเวทนาอย่างไร ท่านก็สละร่างไปอย่างสงบ เช่นเดียวกับนักรบที่ตายในสนามรบอย่างองอาจและกล้าหาญ แม้ปุถุชนหลายๆคนที่หายจากโรคร้ายต่างๆได้ เพราะจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ หรืออย่างน้อยก็เผชิญหน้ากับมันด้วยความกล้าหาญ เพราะเมื่อโรคร้ายหรือความเจ็บป่วยมาถึงแล้วทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราจงอยู่กับมัน ขอให้เราป่วยแต่กายแต่ใจไม่ป่วย เป็นเวลาดี เป็นเวลาเหมาะแล้วที่เราจะใช้การเจ็บป่วยนี้มาฝึกใจของเรา ให้ใจเราเข้มแข็ง อดทน สงบและตั้งมั่น ขอให้กำลังใจตัวเอง ให้กำลังใจคนรอบข้าง จงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส จงทำวัฏฏสงสารให้สั้นเข้า เพื่อเราจะได้ข้ามพ้นความทุกข์ และความสุข เข้าสู่ความหลุดพ้นชั่วนิรันดร์
อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
ขอพลังความดีทั้งหลายที่เราได้สร้างสมอบรมมาจงมาเป็นกำลังใจให้เราฟันฝ่าอุปสรรค์ต่างๆนาๆโดย สวัสดี เทอญ
เด็กวัดเก่า
26 เมษายน 2553
วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
White Pagoda, Beijing
ไป่ไห่
อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปักกิ่ง และตะวันตกเฉียงเหนือของกู่กง(พระราชวังเก่า) เป็นสวนสาธารณะของพระราชาสมัยก่อน บริเวณกว้างมาก ต้นไม้มีอายุเป็นร้อยปี ภายในประกอบด้วยทะเลสาบ เกาะกลางทะเลสาบและ เขา 3 ลูก นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ขาว พระพุทธรูปหยกขาวสูง 1.5 เมตรที่แกะจากหยกขาวชิ้นเดียวประดับด้วยพลอยสีต่างๆ ใบหน้าขาวสะอาดเปี่ยมไปด้วยเมตตา
ปี 1925 เปิดเป็นสวนสาธารณะ
ภายในมีวัดหย่งอัน สร้างในปี 1651 เดิมชื่อวัดเจดีย์ขาว เปลี่ยนเป็นวัดหย่งอันในปี 1743 ภายในมีพระศากยมุนี หอระฆัง ห้องโถงพิธีการ
เจดีย์ขาวตั้งอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะทิเบตสูง 35.9 เมตร ด้านบนทรงกลม ด้านล่างเหลี่ยม ปี 1679 เสียหายเพราะแผ่นดินไหว บูรณะขึ้นใหม่ ปี 1976 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ยอดเจดีย์เสียหาย เมื่อครั้งบูรณะใหม่จึงพบว่าในเจดีย์มีตลับทองคำสองนิ้ว ภายในบรรจุพระธาตุ 2 ชิ้น เป็นการยืนยันว่าเจดีย์นี้เป็นเจดีย์สำหรับบรรจุพระธาตุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ทราบจากไกด์ว่าไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้
อ้างอิง
http://www.qutu.com/jsp/guest/news.jsp?newsId=10950
http://blog.sina.com.cn/s/blog_599a1dee0100exjm.html
Fayuen temple, Beijing
วัดฟาหยวน ปักกิ่ง
วัดฟาหยวนสร้างในสมัยกษัตริย์ถังไถ่จง พ.ศ. 645 เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของปักกิ่ง มีพระพุทธรูปเก่าแก่หลายสมัยโดยเฉพาะราชวงค์หมิง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพุทธสมาคมฯ โรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาจีนและพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาด้วย มี 6 อาราม มีพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ 18 องค์ เจ้าแม่กวนอิมและยังมีพระนอนที่ทำด้วยไม้ยาว 10 เมตร ซึ่งจัดเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในปักกิ่ง วัดนี้เป็นวัดที่มีความสงบ ต้นไม้มากทำให้เกิดความร่มรื่นและเป็นที่เลื่องชื่อในการปลูกไม้ดอก ไม้หอมมากมาย
สมัยราชวงค์ชิง พ.ศ. 1057 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บางอารามเกิดความเสียหายมาก ต้องบูรณใหม่
เดิมเคยประดิษฐานอัฐิส่วนกระโหลกศีรษะของพระถังซัมจั๋ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ถูกขโมยไปในปี 1949 ปัจจุบันนี้ได้สร้างอาคารเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระถังซัมจั๋ง เป็นที่เก็บเจดีย์ที่เคยบรรจุอัฐิและของที่ระลึกต่างๆเกี่ยวกับท่าน
TianJin, Dabei Buddhist Temple or Grand Mercy Temple
Tianjin, China
Dabei Buddhist Temple (Great Compassion Buddhist Temple)
Grand Mercy Temple
No.40 Tianwei Road, Hebei District
วัดต้าเปยเวี่ยน(คำแปล-พระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่) ที่เมืองเทียนจินหรือเทียนสิน
เมืองเทียนสินเป็นเมืองที่เจริญรวดเร็วมาก ทั้งทางเศรษฐกิจและตึกสมัยใหม่ โดยเฉพาะเป็นเมืองที่ผลิตมือถือของจีนหลากหลายยี่ห้อ ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว เราสามารถเดินทางจากปักกิ่งด้วยรถไฟความเร็วสูงมาที่นี่ใช้เวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้นเอง
วัดต้าเปยถูกล้อมรอบด้วยความเจริญทางวัตถุ อยู่ท่ามกลางตึกใหญ่โตหรือป่าคอนกรีตนั้นเอง วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปพระศรีสากยมุนีซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง สูง 7 เมตร หนักหกตันมีความพิเศษตรงฐานดอกบัวจะมีพระพุทธรูปแกะสลักตามกลีบดอกบัวจำนวน 9999 องค์ เห็นจากรูปในอินเตอร์เน็ตสวยงามมาก แต่พอไปดูของจริงไม่สวยเท่ารูปถ่าย อาจเป็นเพราะความเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาหรือขาดการเอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควรก็เป็นไปได้
วัดนี้เป็นวัดเก่าสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง มีความสำคัญในทางพุทธศาสนามหาญาณคือเคยเป็นที่ประดิษฐานอัฐิของพระถังซัมจั๋ง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว และสอบถามพระในวัดก็ไม่ค่อยมีคนทราบเกี่ยวกับประวัติอันนี้ คงมีแต่ห้องเล็กๆที่ชื่อว่าห้องพระถังซัมจั๋งไว้เป็นที่ระลึกเท่านั้น ภายในห้องมีแต่รูปวาดของท่านหนึ่งรูปติดกำแพง หน้าโต๊ะบูชาเล็กๆเท่านั้น เพราะในปี 1956 นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลของจีนเยือนประเทศอินเดีย นายกรัฐมนตรีเนรูห์ของอินเดียสั่งให้มีการบูรณะซ่อมแซมวัดนาลันทา (Nalanda) ซึ่งเป็นวัดในอินเดียที่พระถังซัมจั๋งได้ไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ถึง 5 ปี และเสนอให้ตั้งชื่อวัดนี้ใหม่ว่าสถาบันเสวียนจั้ง นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลได้แบ่งอัฐิของพระถังซัมจั๋ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดต้าเปยเวี่ยน เมืองเทียนจิน 1 ชิ้น เพื่อมอบให้อินเดียเก็บไว้ที่สถาบันแห่งนี้ รัฐบาลอินเดียได้นำอัฐิดังกล่าวเก็บรักษาไว้ในผอบคริสตัลที่งดงามยิ่ง และนำไปบรรจุในเจดีย์ทอง ซึ่งมีความสูง 40 ซม.
อ้างอิง
http://www.chinatravel.com/tianjin/attraction/dabei-buddhist-temple