Tradintional Chinese Medicine, introduction บทนำการแพทย์แผนจีน
Xuanzang, The Great Monk of China, great impacts in Chinese Buddhism. All articles are about to become good health by modern medicine, Traditional Chinese Medicine(TCM) or other Alternative Medicine and ways to purify the mind or set the spirit free. บทความเหล่านี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ไม่สามารถนำไปอ้างอิงหรือฟ้องร้องใดๆทั้งสิ้น
อาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้หญิง Dr. Lew
อาการปวดท้องเฉียบพลันในเพศหญิง
บางครั้งปวดรุนแรงจนต้องไปห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลต่าง ๆในและนอกเวลาราชการ
แบ่งตามวัยและการมีประจำเดือน ถ้าหมดประจำเดือนแล้วและมีอายุมากขึ้น
เป็นการปวดจากสภาวะความเสื่อมของอวัยวะเช่นเส้นเลือดตีบจากภาวะไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด(เส้นเลือดหัวใจตีบ) เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ได้แก่
ลำไส้เน่าเนื่องจากขาดเลือด(ischemic
bowel disease) เพราะเส้นเลือดที่มาเลี้ยงตีบตันหรือมีตะกอนมาอุด ภาวะเส้นเลือดใหญ่ท้องปริหรือแตก(rupture
aortic aneurism) ภาวะผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้แก่กระเปาะลำไส้(colonic
diverticulosis) ซึ่งสามารถแสดงออกด้วยการเกิดการอักเสบของกระเปา(diverticulitis)
ภาวะเลือดออกจากกระเปาะลำไส้ (diverticular bleeding) และภาวะกระเปาะลำไส้ทะลุ(diverticular rupture)
นอกจากนี้ยังมีโรคนิ่วอุดตันของท่อในอวัยวะต่าง ๆ เช่น
ถุงน้ำดีอักเสบและติดเชื้อเนื่องจากนิ่วถุงน้ำดีอุดตันท่อน้ำดี(cholecystitis) ภาวะไส้ติ่งอักเสบ(acute
appendicitis) ภาวะนิ่วในท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เป็นต้น ซึ่งอาการปวดและตำแหน่งปวดไม่แตกต่างกันกับในผู้ชาย
ส่วนอาการปวดท้องเฉพาะในเพศหญิงที่ยังมีประจำเดือน(วันเจริญพันธ์)
มักเกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์และเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
แพทย์มักจะต้องซักประวัติคู่ครอง(การมีเพศสัมพันธ์)
วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อคำนวณถึงระยะหรือช่วงของประจำเดือน การตกไข่
และการตั้งครรภ์มากแล้วเป็นระยะเวลาเท่าใดตามรายละเอียดของแต่ละโรคดังนี้
ปีกมดลูกอักเสบหรือการติดเชื้อของปีกมดลูก (Pelvic
inflammatory disease)
ปวดท้องในหญิงวันเจริญพันธ์ที่เกิดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์
เชื้อผ่านเข้าทางท่อรังไข่และทำให้มีการอักเสบของท่อรังไข่ มักมีอาการตกขาว
มีหนองออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างร่วมกับ มีไข้
เกิดช่วงไหนของประจำเดือนก็ได้ แต่ส่วนมากมักเกิดก่อนและหลังประจำเดือน
ตั้งครรภ์นอกมดลูก
(Ectopic pregnancy)
ปวดท้องในหญิงวันเจริญพันธ์ที่ขาดประจำเดือนหรือคิดว่าตั้งท้อง
แต่เกิดเนื่องจากเชื้ออสุจิและไข่ผสมแล้วเดินทางมาไม่ถึงมดลูก ทำให้มีการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วเกาะติดอยู่ในท่อรังไข่
ทำให้มีเลือดออก หรือทำให้ท่อรังไข่ทะลุ เลือดออกในอุ้งเชิงกราน
ประวัติที่ช่วยคืออาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงด้ายใดด้านหนึ่ง
ซีดร่วมกับความดันโลหิตต่ำ ในหญิงวันเจริญพันธ์ที่ขาดประจำเดือน(สงสัยตั้งครรภ์)
เยื่อบุมดลูกผิดที่
(Endometriosis)
ปวดท้องในหญิงวัยเจริญพันธ์เริ่มมีประจำเดือนอายุน้อย
ยังไม่เคยตั้งท้อง หรือได้รับฮอร์โมนอีสโตรเจนเพื่อการรักษามาก่อน อาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือนยาวถึงหลังประจำเดือน
อาจจะปวดตรงกลาง(หลังมดลูก) ท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ส่วนไหนของช่องท้องก็ได้
อาการปวดน้อยถึงปานกลาง
เกิดขึ้นซ้ำทุกๆรอบเดือนคล้ายปวดประจำเดือนแต่อาการรุนแรงกว่า
รังไข่บิดตัว (Ovarian
torsion)
ปวดท้องที่เกิดได้ในหญิงทุกอายู
ทุกช่วงเวลาของรอบเดือน มักตามหลังการออกกำลังกายที่รุนแรงหรืออย่างหนักในหญิงที่มีรังไข่ขนาดใหญ่(โดยเฉพาะมากกว่า
5 ซ.ม.ขึ้นไป) เกิดจากการบิดตัวของขั้วรังไข่
ทำให้รังไข่ข้างนั้นขาดเลือดไปเลี้ยงจึงเกิดการปวดขึ้น
อุบัติการณ์ข้างขวามากกว่าข้างซ้าย เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูตินารีที่ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดเร่งด่วน
อาการปวดจะรุนแรงมาก อาจปวดร้าวไปขาหนีบ ด้านหลังหรือชายโครงด้านนั้นๆได้
อาการปวดเกิดขึ้นทันทีทันใด ร่วมกับคลื่นไส้ ส่วนน้อยจะมีไข้ต่ำๆได้
ปวดร่วมกับไข่ตก (Corpus
luteal rupture)
อาการปวดท้องในหญิงวันเจริญพันธ์
เกิดขึ้นทันทีหลังออกกำลังกายหรือมีเพศสัมพันธ์ ปวดปานกลางถึงปวดมาก
ปวดท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง ปวดมากขึ้นเมื่อลุกนั่ง อาจปวดร้าวไปต้นขา(psoas
muscle irritation) ช่วงเวลาที่เกิดจะอยู่ในช่วงกึ่งกลางของรอบประจำเดือน(mid
cycle pain) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของไข่ตก
ไข่บางฟองอาจจะมีสารน้ำที่ออกมาพร้อมไข่จำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบุข่องท้อง
ทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้น
หมายเหตุ:
บทความนี้เผยแพร่เป็นความรู้แก่ประชาชน
ไม่สามารถทดแทนการตรวจที่ถูกต้องจากแพทย์ได้
Key words: acute, abdomen, pain, emergency, severe, adult, menstruation, ovulation, bleeding, fever, shock.
การวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ใหญ่ Dr. Lew
อาการปวดท้องเฉียบพลัน(ไม่เกิน1-2สัปดาห์)ในผู้ใหญ๋(อายุตั้งแต่
15 ปีขึ้นไป) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ
โดยเฉพาะอุบัติการณ์จากห้องฉุกเฉินตั้งแต่ 5-10 % สาเหตุแตกต่างไปตามประเทศ ภูมิภาค
ครอบคลุมโรคจากหลายระบบ ต้องได้รับการวินิจฉัยและดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์เวชปฏิบัติ
แพทย์ห้องฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ สุตินารีแพทย์ เป็นต้น
อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในช่องท้องแล้วยังอาจมาจากนอกช่องท้องได้แก่ปวดท้องเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบและปอดอักเสบ
เป็นต้น โดยข้อมูลที่นำมาใช้ช่วยวินิจฉัยได้แก่ ชื่อ เพศ
อายุ สภาพสมรส ประจำเดือนครั้งสุดท้าย(เฉพาะหญิง)
บทความนี้เป็นการกล่าวถึงโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้คร่าวๆ
เพราะอาศัยข้อมูลจากประวัติอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งย่อมต้องมีข้อจำกัดมาก
ดังนั้นไม่สามารถใช้แทนการตรวจของแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ นำไปอ้างอิงหรือการฟ้องร้องใดๆทั้งสิ้น
การวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ใหญ่มีประมาณ 25
โรคครอบคลุมถึงอาการปวดท้องเฉียบพลันที่สามารถทำให้ถึงกับชีวิตได้หากไปโรงพยาบาลไม่ทัน
เช่น โรคเส้นเลือดใหญ่เอออร์ตาในท้องแตก ท้องนอกมดลูก กระเพาะทะลุ เป็นต้น
ดังนั้นไม่ควรเสียเวลาในการพยายามหาคำตอบจากโปรแกรมมากกว่าการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินหรือโรงพยาบายเพื่อการรักษาที่ถูกต้องมากกว่า
สิ่งที่แพทย์จะซักประวัติเพื่อช่วยการวินิจฉัย
ได้แก่
1.
ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ สภาพสมรส
ประจำเดือนครั้งสุดท้าย(เฉพาะหญิง เพื่อคำนวณระยะเวลาไข่ตก
ภาวะประจำเดือนขาด-ตั้งครรภ์) เกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นได้ เข่น
ปวดท้องจากไข่ตกยืนยันจากระยะรอบเดือน
และอาการปวดท้องจากท้องนอกมดลูกยืนยันและเกี่ยวข้องกับการขาดประจำเดือน-ตั้งครรภ์
เป็นต้น
2.
อายุมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคปวดท้องที่เป็นตามกลุ่ม
โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ
ภาวะสำไส้ขาดเลือด ภาวะกระเปาะลำไส้อักเสบหรือมีเลือดออก ภาวะลำไส้อุดตัน
และเส้นเลือดใหญ่เอออร์ต้นปลิหรือแตก เป็นต้น อายุน้อยมีโอกาสเป็นตับอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบและถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น
3.
อาการปวดท้องเฉียบพลันแต่ละโรคสามารถแยกกันได้ด้วยความเฉียบพลันที่เกิด-น้อยกว่า 24 ชั่วโมง(ทันที
เป็นพักๆ ค่อยๆปวดมากขึ้น) ความรุนแรง(3.1 อ้างอิง
ร.พ.บ้านตาก) ลักษณะการปวด(บีบเป็นพักๆ ตื้อๆ
ร้าวๆ) ตำแหน่งที่ปวด(ท้องด้านขวาบน-ถุงน้ำดีอักเสบ
นิ่วอุดตันในท่อน้ำดี บริเวณลิ้นปี่-โรคกระเพาะ โรคตับอ่อน บริเวณท้องด้านซ้ายบน-ม้าม
ไต บริเวณรอบสะดือ-ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง บริเวณท้องน้อยด้านขวา-ไส้ติ่งอักเสบ
ปวดท้องจากไข่ตก ท้องนอกมดลูกและปวดจากปีกมดลูกอักเสบ
บริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย-ปวดท้องจากไข่ตก
ท้องนอกมดลูกและปวดจากปีกมดลูกอักเสบ เป็นต้นและอาการปวดร้าวหรือย้ายตำแหน่งปวด-ไส้ติ่งอักเสบจากปวดรอบสะดือย้ายมาท้องน้อยด้านขวา
ถุงน้ำดีอักเสบปวดจากท้องด้านขวาบนและสะบักด้านขวาด้วยและนิ่วจากท่อปัสสาวะปวดท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวาแล้วร้าวลงไปขาหนีบหรือต้นขาด้านในได้เป็นต้น
ความรุนแรงของความปวด
ใช้ตัวเลขแทนความปวดตั้งแต่ 0-10 (Numeric Rating Scale-NRS) |
||||
คะแนน |
0 |
หมายถึง |
ไม่ปวด
ขยับตัวก็ไม่ปวด |
|
คะแนน |
1-3 |
หมายถึง |
ปวดเล็กน้อยพอทนได้
นอนเฉยๆไม่ปวด ขยับแล้วปวดเล็กน้อย |
|
คะแนน |
4-6 |
หมายถึง |
ปวดปานกลาง
นอนเฉยๆก็ปวด ขยับก็ปวด |
|
คะแนน |
7-10 |
หมายถึง |
ปวดมากที่สุดจนทนไม่ได้
แม้นอนนิ่งๆ |
4.
อาการที่เกี่ยวข้องที่สำคัญได้แก่ ไข้หมายถึงมีการอักเสบของอวัยวะในท้องที่ทำให้ปวดท้องเข่น
ไส้ติ่ง ถุงน้ำดีหรือปีกมดลูกอักเสบเป็นต้น หน้ามืดหรือช็อคหมายถึงมีการเสียเลือดหรือน้ำ
เข่น เลือดออกจากเส้นเลือดใหญ่เอออร์ต้าปริหรือแตก เลือดออกจากกระเปาะลำไส้
กระเพาะทะลุและท้องนอกมดลูก หรือการเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง เป็นต้น
5.
อาการอื่นที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญช่วยการวินิจฉัยอาการปวดท้องเฉียบพลันได้แก่
ถ่ายเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีอาการตกขาว ส่วนอาการอื่นที่อาจเกี่ยงข้องแต่ไม่ค่อยจำเพาะต่อการวินิจฉัยได้แก่
ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้หรืออาเจียน เป็นต้น
Key words: acute,
abdomen, pain, emergency, severe, adult, menstruation, ovulation, bleeding, fever, shock.