จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก ของมหาราชวงศ์ถัง
พระถังซัมจั๋งเป็นผู้ประพันธ์ “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า “ต้าถังซีวี่จี้” วรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ทำให้ชื่อของพระถังซัมจั๋งเป็นที่เลื่องลือและรู้จักกันทั่วไป อัฐิของพระถังซัมจั๋งเดิมในสมัยราชวงศ์ซ่ง ประดิษฐานอยู่ที่เมืองฉางอัน (เมืองซีอานในปัจจุบัน) ต่อมาถูกย้ายมาอยู่ที่เมืองนานกิง หลังเกิดกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าอัฐิของพระถังซัมจั๋งไปอยู่ ณ ที่แห่งใดอีก จนมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเข้ายึดครองเมืองนานกิง และได้ขุดพบโกศหินซึ่งบรรจุอัฐิของพระถังซัมจั๋งโดยบังเอิญ (ปีโชวะ 17) ปีต่อมา อัฐินั้นก็ถูกนำส่งคืนให้แก่รัฐบาลนานกิงในขณะนั้น และในปีโชวะ 19 มีการก่อสร้างเจดีย์เสวียนจั้งบนเขาเสวียนอู่ซัน ในเมืองนานกิง และอัฐิได้ถูกบรรจุไว้ในเจดีย์นี้ ในปีเดียวกันนั้น อัฐิของพระถังซัมจั๋งบางส่วนก็ถูกแบ่งไปที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย อัฐิที่ส่งไปญี่ปุ่นนั้น ครั้งแรกถูกนำไปบรรจุในวัดโซโจหยิ ในเมืองโตเกียว แต่เนื่องจากโตเกียวขณะนั้นถูกโจมตีทางอากาศเป็นอาจิณ อัฐิจึงถูกย้ายมาประดิษฐานชั่วคราวที่วัดซังกาขุอิน เมืองวาราบิ จังหวัดไซตามะ ต่อมามีการสร้างวัดหยิออนหยิขึ้น โดยตั้งชื่อเลียนแบบวัดไดหยิออนหยิ (วัดต้าฉือเอินซื่อ) ซึ่งพระถังซัมจั๋งเป็นผู้สร้าง อัฐิจึงถูกย้ายไปประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันพิจารณาและมีมติเห็นพ้องกันว่า วัดหยิออนหยิเป็นวัดที่เหมาะสมที่สุดที่จะประดิษฐานอัฐิของพระถังซัมจั๋ง เพราะเป็นวัดที่มีความผูกพันกับพระถังซัมจั๋งมากที่สุด จึงสร้างเจดีย์เกนโจ้ (เจดีย์เสวียนจั้ง) 13 ชั้นด้วยหินแกรนิต (ความสูง 15 เมตร) ขึ้นที่นี่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก