ทหารญี่ปุ่นพบอัฐิพระถังซัมจั๋งสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่นานกิง
ผู้ที่มาพบอัฐิของพระถังซัมจั๋งอีกครั้งหนึ่งคือทหารญี่ปุ่นในสงครามจีนและญี่ปุ่น เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1937 กองทัพก๊กมินตั๋งล่าถอยออกจากเมืองนานกิง และกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดบริเวณหวี่ฮัวไถ นอกประตูจงหัวในเมืองนานกิงเพื่อสร้างโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ในปี 1942 ขณะที่ทหารญี่ปุ่นขุดดินเพื่อปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างศาลเจ้าอินาริบนภูเขาที่โรงงานตั้งอยู่ ได้พบชั้นดินแปลกประหลาด เมื่อผู้เชี่ยวชาญขุดลึกลงไปอีกประมาณ 3.5 เมตร ก็พบหินก้อนหนึ่ง
ขนาดของชั้นดินเหนียวที่คลุมโกศหิน มีความกว้าง 59 ซม. ความยาว 78 ซม. และความสูง 57 ซม
ขนาดของโกศหิน มีความกว้าง 51 ซม. ความยาว 51 ซม. และความสูง 30 ซม
ฝาโกศทำด้วยอิฐ และสองข้างโกศมีตัวอักษรจารึกไว้ว่า
ฝังในราชวงศ์ซ่งเหนือ เทียนเซิ่งปีที่ 5
ฝังในราชวงศ์หมิง หงอู่ปีที่ 19
ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าเป็นโกศหินที่บรรจุกะโหลกศีรษะของพระถังซัมจั๋งอย่างแน่นอน สิ่งที่บรรจุภายในโกศหินมีดังนี้
1. เสี้ยวหนึ่งของกะโหลกศีรษะ (มีใบหู)
ชิ้นส่วนกล่องทองเหลือง 2-3 ชิ้น
2. กล่องหล่อขึ้นรูปใบเล็ก 1 กล่อง
3. กล่องเงินใบเล็ก 1 กล่อง
4. หยก 1 เม็ด
5. ภาชนะทองเหลือง (ถ้วยน้ำชา ภาชนะสำหรับหุงอาหาร 1 ชิ้น เชิงเทียน 1 ชิ้น)
6. เครื่องลายคราม (แจกันลายครามสีเขียวอ่อน 2 ชิ้น กระถางธูปลายครามสีเขียวอ่อนและจานลายครามสีเขียวอ่อน อย่างละ 1 ชิ้น)
7.เหรียญเงินตรา (เศษชิ้นส่วนของเหรียญเงินตราจำนวนกว่า 300 ชิ้น เป็นเงินตราในสมัยถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ)
เมื่อทหารญี่ปุ่นเปิดโกศ ก็พบหยก เครื่องทองเหลือง เครื่องลายคราม เหรียญเงินตรา และอัฐิซึ่งเป็นชิ้นกระดูกของกะโหลกศีรษะจำนวน 17 ชิ้น ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นนายอินาดะดีใจมาก หมายมั่นจะนำกลับไปประเทศญี่ปุ่น แต่ข่าวนี้รั่วไหลออกไป ทำให้เป็นที่ตำหนิติเตียนในหมู่คนจีนเป็นอย่างมาก ทางการจีนที่เป่ยผิง (ปักกิ่งในปัจจุบัน) ไม่อาจนิ่งเฉย จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ชื่อไป๋หลงผิงมาเจรจากับทหารญี่ปุ่น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก